Posts Tagged ‘เส้นใยสังเคราะห์’

ลักษณะการหดตัวของผ้าและเสื้อยืด

ช่วงนี้ลูกค้าจากย่านรามคำแหง, ลาดพร้าว, มีนบุรี, นวมินทร์ แวะมาซื้อเสื้อยืดที่ร้านผู้เขียนเยอะเป็นพิเศษ น่าจะเป็นเพราะใกล้ช่วงเทศกาล ลูกค้ามาซื้อเสื้อเตรียมตัวไปเที่ยวกัน อิ อิ อิ (น่าอิจฉาเนาะ ส่วนผู้เขียนอยู่เฝ้า กทม กลัวหาย -__-!!!)

ลูกค้าที่มาซื้อเสื้อยืดที่ร้านมักจะถามคำถามยอดนิยมคล้ายๆ กันก่อนซื้อเช่นว่า “ผ้าหดไหม?”

ผู้เขียนก็มักจะตอบด้วยความซื่อบื้อและความสัตย์จริงว่า “หดครับ!”

ได้ยินแบบนี้ บ้างก็ซื้อ บ้างก็เปลี่ยนใจ 555

ก็มันจริงนี่นา  ตะเอง!

——–

000-2021-01-16-ราคา-Cotton20

——–

003 - Low Re

ว่ากันตามประสบกาม เอ้ย! ประสบการณ์การของเขียนแล้วผ้าทุกอย่างหดตัวหมดครับ

ผ้าอย่างเดียวที่ไม่หดคือ “ผ้าป่า (สามัคคี)”

คงไม่ต้องสาธยายถึงลักษณะของผ้าป่าที่มาเป็นซองๆ วางอยู่บนโต๊ะที่ทำงานของเพื่อนๆ นะครับ 555 เป็นซองแบนๆ เนื้อละเอียด มีประทับตราวัดเพื่อความสวยงามและขลัง พร้อมทั้งอัดแน่นด้วยเนื้อบุญอยู่ด้านในซอง 555 ผ้าแบบนี้ไม่มีหดครับ! มีแต่เพิ่ม (ไม่เชื่อลองใส่ผ้าป่าซักซอง เดี๋ยววันถัดมาจะขยายตัวเพิ่มเป็น 2 ซองวางอยู่บนโต๊ะทำงานเพื่อนๆ 555 ลองมาแล้ว!)

 

นอกนั้นผ้ามีการหดตัวครับ

ผ้าเส้นใยใหญ่กว่าก็มีอัตราการหดตัวน้อยกว่าผ้าเส้นใยเล็กกว่า

ผ้าเส้นใยธรรมชาติคอตต้อนก็หดตัวน้อยกว่าเส้นใยสังเคราะห์

ผ้าเส้นใยสังเคราะห์ปกติทั่วไปก็หดน้อยกว่าผ้าเส้นใยสังเคราะห์สารยืดหรือพวก spandex ต่างๆ เป็นต้น

เช่นเสื้อยืดผ้าคอตต้อน100% เบอร์ 20 ซึ่งทอด้วยเส้นใยที่ใหญ่กว่ามีอัตราการหดตัวน้อยกว่าเสื้อยืดผ้าคอตต้อน100% เบอร์ 32 ที่ใช้เส้นด้ายเบอร์เล็กกว่า (เบอร์เส้นด้ายยิ่งมาก เส้นด้ายยิ่งเล็ก)

เสื้อยืดผ้า TK ที่ทำจากเส้นใยสังเคราะห์โพลี 100% ก็มีอัตราการหดตัวมากกว่าเสื้อที่ตัดเย็บจากผ้าฝ้ายธรรมชาติคอตต้อน 100% เป็นต้น

 

ครั้นจะบอกว่าผ้าไม่หดนั่นก็ดูจะไม่ซื่อสัตย์ไปหน่อยนะตัวเธอว์

 

ซึ่งถ้าเรามาดูหลักความจริงตามเหตุผลแล้ว การหดตัวของผ้าส่วนใหญ่ก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และเป็นสิ่งที่รับได้

สาเหตุการหดนั้นก็อาจจะมาจากหลายๆ ปัจจัยหลายๆ เหตุผล เช่น

ลักษณะเส้นใย – เป็นเส้นใยธรรมชาติหรือเส้นใยสังเคราะห์? (เส้นใยสังเคราะห์ก็คือพลาสติกดีๆนี่แหละแต่ผ่านกรรมวิธีการผลิตอันสลับซับซ้อนผสมสารพิเศษต่างๆ รีด กรอง หลายรอบจนออกมาเป็นเส้นใยสำหรับกิจกรรมสิ่งทอ)

ขบวนการผลิต – การทอกี่รอบ? กี่กรัมต่อตารางฟุต? ต่างๆ นาๆ บางครั้งมองภายนอกเหมือนกันทั้งลักษณะผ้าและความยาวแต่เครื่องจักรทอผ้าสมัยนี้พัฒนาไปมากจนมีรูปแบบการทำงานที่เลือกได้ว่าใช้ความหนาแน่นมากน้อยแค่ไหน (รายละเอียดเชิงลึกว่ากันอีกทีนะจ๊ะ ตัวเธอว์) หรือการอบหลังจากย้อมสี ต่างๆ เป็นต้น

อุณหภูมิสภาพแวดล้อม – ร้อน เย็น? (ขนาดไม้เนื้อแข็งยังหดตัวนับประสาอะไรกับผ้า)

การตัดเย็บ – มีการเผื่ออัตราการหดมากน้อยแค่ไหน? ฝีเข็มเป็นยังไง?

ปัจจัยเหล่านี้มีผลต่ออัตราการหดของผ้าครับ

การหดตัวของผ้านั้นถือว่าเป็นเรื่องปกติครับ มีหดบ้างซึ่งก็ว่ากันตามลักษณะของผ้าแต่ละชนิด โดยทั่วๆไปแล้วถือว่ารับได้ ไม่ได้เลยร้ายอะไรเลย เป็นเรื่องที่ทราบกันดีของฝั่งผู้ผลิตเสื้อผ้าและโรงงานทอผ้า ผ้าหดมากน้อยก็ว่ากันไปตามเหตุผล เสื้อที่เราใส่ๆอยู่ก็หด แต่อาจจะเล็กน้อยจนเราไม่รู้สึกตัวก็เป็นได้

 

แต่….. (ทำคิ้วขมวด หน้าตาจริงจังกับชีวิต!)

 

ถ้าหากเพื่อนๆ ซื้อผ้ามาจากโรงงานมาตัดเย็บเสื้อผ้าแล้วหดหนักถึงขั้นตัดชุดแซคแล้วผ้าหดเหลือเท่าเสื้อครอปครึ่งตัวหละก็น่ะ!

บอกพิกัดที่ตั้งและเลขบัญชีมาเลย!

พร้อมโอน!

จะซื้อมาตัดเสื้อกล้ามให้น้องเมียกับเพื่อนน้องเมียใส่เส้นน้ำสงกรานต์หน้าบ้านปีนี้ 555

หามานานผ้าสเปคเทพขนาดนั้น  555 -__-!!!

 

ส่วนวิธีแก้ไข ป้องกันหรือลดอาการหดของผ้านั้นก็มีหลายวิธีครับ ว่ากันไปตามลักษณะการทำงาน ซึ่งในส่วนของผู้เขียนที่เป็นร้านตัดเย็บเสื้อผ้า ตัดเย็บเสื้อยืดนั้นก็มีวิธีทำงานหรือวิธีแก้ปัญหาในแบบของฝั่งผลิตเอง ไม่ได้สลับซับซ้อนอะไร

เช่น

ถ้าผ้าบางหรือยืดก็จะตัดเผื่อหดมากหน่อย

ถ้ารู้ตัวว่าทำงานกับผ้าบาง เช่น ฮานาโกะ ชีฟอง (บ้างไม่ฟองบ้าง) ที่บางมากๆ ยืดมากๆ ก็อาจจะปูผ้าแล้วทิ้งค้างไว้ซัก 1 คืนเพื่อให้ผ้าอยู่ตัว คงสภาพ ประมาณว่า หดเต็มที่พรุ่งนี้เจอกัน อะไรทำนองนั้น!

หรือถ้าทำงานกับผ้าที่บางๆ พริ้วๆ ยืดๆ (เย็บยากๆ นั่นแหละ!) ก็อาจจะต้องทำแพทเทิ่นพิเศษที่เผื่อการหดของผ้าและการเย็บโพ้งกินผ้ามากขึ้นกว่าปกติ เช่นจาก ½ นิ้วก็เป็น 6/8 นิ้วอะไรทำนองนั้นซึ่งก็ว่ากันไปตามลักษณะของผ้า

สรุปเลยละกัน (ง่วงนอนละ -__-!!!)

โดยรวมสำหรับเสื้อผ้าทั่วๆ ไป เสื้อยืด เสื้อโปโลแล้วก็มีการหดตัวบ้างแต่ก็ไม่ถึงขั้นเป็นปัญหาหลัก

วิธีตรวจสอบเนื้อผ้าเบื้องต้น

อุตสาหกรรมสิ่งทอ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มนั้นเป็น 1 ในอุตสาหกรรมหลักที่เกี่ยวพันกับปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตของมนุษย์เรา จึงเป็นเรื่องปกติที่การพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอจะรุดหน้าไปอย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองความต้องการที่เป็นพื้นฐาน (และไม่พื้นฐาน) ของมนุษย์เรา หนึ่งในการพัฒนาที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอก็คือการพัฒนาเส้นใย จึงทำให้เส้นใยในการผลิตเสื้อผ้า สิ่งทอในตลาดปัจจุบันนั้นมากประเภทกว่าเดิม ซึ่งแต่เดิมนั้นมีเพียงหลักๆ คือเส้นใยที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย (Cotton) และผ้าจากเส้นใยสังเคราะห์ที่ได้จากการแปรรูปน้ำมัน เช่น ผ้าโพลี (Polyester) กลายมาเป็นเส้นใยผสมต่างๆ นาๆ ที่มีความสลับซับซ้อน

สำหรับผู้เขียนและเพื่อนๆ ที่ทำงานหรือมีอาชีพเกี่ยวข้องกับกระบวนการทำเสื้อผ้าต่างๆ เช่น ตัดเย็บ สกรีนลวดลาย ปัก หรือแม้แต่การตัด การรู้จักเนื้อผ้าถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะเนื่องจากเนื้อผ้าแต่ละชนิดก็ต้องการการปฏิบัติที่ต่างกันออกไป เช่นผ้าไม่ยืดอย่าง Cotton 100% หรือผ้าผสมต่างๆ เนื้อผ้าแบบ TC เนื้อผ้าแบบ TK ซึ่งเนื้อผ้าจะออกยืดๆ เนื่องจากมีส่วนผสมของผ้าใยสังเคราะห์มาปนด้วย หากเพื่อนๆ ที่ไม่ค่อยได้มีโอกาสคลุกคลีกับแวดวงเสื้อผ้าก็คงจะดูลำบากว่าที่คนขายพูดๆ นั่นนะ Cotton แท้รึเปล่า ใส่สบายจริงรึเปล่า (ซึ่งบางคนจะแพ้ใยสังเคราะห์ เช่นผู้เขียนเป็นต้น -__-!!! เป็นโรคคุณหนู)

เพราะขนาดผู้เขียนเองที่คลุกคลีกับธุรกิจเสื้อผ้ามาเป็นเวลาหนึ่งทั้งจากงานประจำและงานอาชีพเสริมก็ยังมีผิดพลาดในเรื่องเนื้อผ้า เพราะเดี๋ยวนี้ตลาดเสื้อผ้าไปไวเหลือเกิน จนบางครั้งต้องจ่ายเงินซื้อของถูกในราคาแพง เกิดความเสียหายในการค้าขึ้นมาได้ เลยเกิดกังวลแทนเพื่อนๆ ที่อยากจะเข้ามาทำธุรกิจการค้าในอุตสาหกรรมสิ่งทอ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม

เป็นห่วงนะ พูดง่ายๆ!

ไม่อยากให้ถูกเอาเปรียบเหมือนผู้เขียนตอนเริ่มทำการค้าใหม่ๆ!

โดนคนอื่นเอาเปรียบนี่ มันน่าเจ็บใจนะเพื่อนๆ ว่าไหม!

เลยเอาวิธีตรวจสอบผ้าง่ายๆ เบื้องต้นที่ผู้เขียนชอบใช้มาแบ่งปันเพื่อนๆ เผื่อจะพอมีประโยชน์บ้าง ไม่มากก็น้อย

วิธีที่ผู้เขียนใช้ประจำก็คงจะหนีไม่พ้นการเผาผ้า   ฟังไม่ผิดนะ!

เผาผ้าจริงๆ

Picture 007** ตัดมานิดเดียวพอจะ ไม่ต้องเยอะ ไม่ต้องถึงกับเผาทั้งตัวนะเตง -__-!!! **

** ถ้าไม่รู้จะตัดตรงไหน ก็บริเวณชายเสื้อด้านในละกันเนอะ! **

Picture 008

** เผาผ้าเพื่อดูองค์ประกอบนะ ไม่ใช่เล่นของ ไม่ต้องร่ายมนต์ -__-!!! **

Picture 010

** หากเป็นเส้นใยธรรมชาติ เส้นใยจะเป็นขี้เถ้าสลายได้ กลิ่นคล้ายกับกระดาษ **

การเผาผ้าเพื่อดูขี้เถ้านั้นหลักๆ ก็เพื่อดูว่าผ้าชนิดนั้นเป็นผ้าเส้นใยธรรมชาติ เช่น Cotton 100% หรือว่าใยสังเคราะห์ บางท่านดูชำนาญขนาดรู้อัตราส่วนผสมเลยก็มีนะ เคยเห็นเหมือนกัน ห้องแล็ปพิสูจน์ผ้านี่อายเลยนะ อะไรจะเก่งปานนั้น -__-!!!

(ส่วนผู้เขียนนั้นมือสมัครเล่น ไม่ต้องห่วงเลย -__-!!!)

การเผาเศษผ้าเพื่อดูขี้เถ้าและกลิ่นนั้น ดูง่ายๆ และหลักๆ คือหากผ้าชนิดนั้นเป็นเส้นใยธรรมชาติหรือจำพวกผ้าฝ้าย Cotton จะมีลักษณะขี้เถ้าจะไม่จับตัวเป็นก้อนและกลิ่นจะเหมือนการเผากระดาษ

แต่ถ้าเป็นประเภทเส้นใยสังเคราะห์นั้นขี้เถ้าจะจับตัวเป็นก้อนดำๆ แข็งๆ และกลิ่นจะคล้ายกับการเผาขวดพลาสติก กลิ่นจะแรงจะเบาขึ้นอยู่กับส่วนผสมเส้นใยสังเคราะห์ในผ้าชนิดนั้นๆ

 

แล้วทำไมต้องมานั่งเผาเล่นให้เสียเวลาหละ?

มันต่างกันตรงไหน?

ต่างกันที่ราคาและคุณสมบัติของเนื้อผ้านั้นแหละครับ

ผ้าเส้นใยสังเคราะห์จะมีราคาถูกกว่ามากเมื่อเทียบกับผ้าเส้นใยธรรมชาติ

ในธุรกิจการค้าที่แข่งขันกันอย่างดุเดือด เช่น ธุรกิจเสื้อผ้า การลดต้นทุนได้ถือเป็นสิ่งที่ได้เปรียบคู่แข่งนะครับ

อาจจะแค่ 1 หรือ 2 บาทแต่ก็สำคัญ

 

ด้วยรักและเคารพเพื่อนๆ ทุกท่าน

โอ

000-2021-01-16-ราคา-Cotton20

Tags
Cotton Cotton เบอร์ 20 Pattern Polyester ขายจำหน่ายเสื้อยืด ขายส่งเสื้อยืด ขายเสื้อผ้า ขายเสื้อยืด คุณภาพ จักรลา จักรอุตสาหกรรม จักรเข็มเดี่ยว จักรโพ้ง ตัดเย็บเสื้อผ้า ตัดเย็บเสื้อยืด บริการเย็บเสื้อยืด ประหยัดด้าย ผ้าคอตต้อนเบอร์ 20 ผ้าคอตต้อนเบอร์ 32 ผ้าถุงกลม Body Size ผ้าฝ้าย ผ้าฝ้าย Cotton เบอร์ 20 ผ้าฝ้าย Cotton เบอร์ 32 ผ้าพับหน้าเดียว พิถีพิถัน รับตัดเย็บเสื้อผ้า ร้านขายผ้า ฤดูขายเสื้อยืด ลดต้นทุน สกรีนเสื้อยืด อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม เนื้อผ้า เนื้อผ้าแบบ TC เนื้อผ้าแบบ TK เย็บเสื้อยืด เสื้อกล้าม เสื้อคอโปโล เสื้อผ้าแฟชั่น เสื้อยืด เสื้อยืดผ้า TK เสื้อยืดสีล้วนสำเร็จราคาส่ง เส้นใยธรรมชาติ เส้นใยสังเคราะห์ เอกลักษณ์