Posts Tagged ‘ตัดเย็บเสื้อยืด’
แจ้งงดรับงานตัดเย็บชั่วคราว
กราบขออภัย เพื่อนๆ และลูกค้าที่ติดต่องานตัดเย็บเสื้อยืด, กางเกง, เสื้อโปโลมาช่วงนี้ครับ สถานการณ์แรงงานที่บ้านยังไม่ดีขึ้น งานตัดเย็บเลยต้องขออนุญาตเลื่อนไปก่อนครับ (โดยเฉพาะเสื้อโปโลกับงานกางเกงแทบจะหาช่างเย็บเพิ่มไม่ได้) ไว้โอกาสหน้าฟ้าใสสถานการณ์แรงงานช่างเย็บคลี่คลายยังไงก็ขอแจ้งให้ทราบอีกครั้งครับ รู้สึกขอบคุณด้วยใจจริงครับแต่ก็ต้องปฏิเสธในช่วงนี้ เพราะงานตัดเย็บ, งานขายที่บ้านแทบจะเอาตัวไม่รอด (ไม่ใช่ว่างานเยอะนะ แต่ช่างเย็บไม่พอ -_-!!!) รับเพิ่มไม่ไหวจริงๆ ครับ
บทความนี้ไม่ได้มีสาระอะไรมากไปกว่าการแวะมาแจ้งข่าวแล้วก็นำประสบการณ์ปัญหามาเล่าสู่กันฟัง
ช่วงสิ้นปีที่ผ่านมาผู้เขียนใช้เวลาหลายวันแก้ไขงานตัดเย็บช่วยสหายท่านหนึ่งที่คบค้ากันมานาน (ไม่ได้ไปเที่ยวไหนเลย 555 แก้งานให้เพื่อนอยู่หลายวันถ้ารู้ตัวว่ากำลังถูกนินทาแล้วหละก็จงรีบเร่งนำขนมมาเซ่นไหว้ช่างเย็บที่บ้านโดยพลัน 555) เพราะเหตุที่ว่าสหายท่านนี้ส่งงานไปตัดเย็บที่ร้านหนึ่งซึ่งเสนอราคาตัดเย็บเสื้อยืดมาถูกมากทำให้หลงเสน่ห์ราคาเลยส่งงานออกไป แล้วก็อกหักช้ำชอกรับงานกลับมาด้วยงานที่ไม่ได้คุณภาพ ตัดเย็บไม่ค่อยดี ฝีเข็มไม่ได้ตามตกลง จากที่คิดว่าถูกกลับกลายเป็นแพงเพราะต้องกลับมาแก้งานกันจ้าหละหวั่นแถมคัดทิ้งไปไม่น้อย สำหรับเพื่อนๆ ที่เป็นช่างเย็บ, ทำงานเย็บผ้าด้วยกันคงจะทราบดีว่างานเสื้อผ้าทำใหม่ง่ายกว่าแก้งาน
ในวงจรธุรกิจค้าขายเสื้อผ้านั้นร้านตัดเย็บหรือโรงงานตัดเย็บนับได้ว่ามีมากมาย แต่พูดได้เต็มปากเลยว่าร้านตัดเย็บเสื้อผ้าหรือโรงงานที่ดีๆ นั้นแทบจะนับจำนวนได้และส่วนใหญ่ก็จะยุ่งธุระเยอะเพราะด้วยการทำงานที่มีคุณภาพทำให้งานที่นำเสนอออกสู่ตลาดผ่านทางลูกค้าที่นำงานมาตัดเย็บนั้นมีคุณภาพตามเช่นกัน แน่นอนว่าร้านหรือโรงงานเหล่านี้หาไม่ง่ายซึ่งต้องใช้เวลาในการเข้าถึงพอสมควร แต่ถือได้ว่าเป็นเรื่องจำเป็นและคุ้มค่าในการลงทุน (หาร้านที่ดีให้เจอแล้วปัญหาในการทำงานจะลดลงเยอะมาก)
ตรงกันข้ามกับร้านตัดเย็บหรือโรงงานที่ทำงานแค่ให้ผ่าน, แค่ให้เสร็จเป็นตัวโดยที่ไม่สนใจคุณภาพ ทำให้งานออกมาไม่ดี, ไม่ได้คุณภาพ ร้านตัดเย็บเหล่านี้มีเยอะมากในตลาดและกลุ่มนี้จะอาศัยงานจากลูกค้าใหม่ขาจรเป็นหลัก กลุ่มนี้มักจะตั้งขึ้นใหม่หรือสลายตัวได้ง่ายเนื่องจากไม่ค่อยมีลูกค้าประจำเป็นหลักคอยป้อนงานพยุงตัวในช่วงขาลงหรือช่วงธุรกิจพักตัว และกลุ่มนี้มักจะเป็นกลุ่มแรกๆ ที่เสนอราคาค่าบริการตัดเย็บ หรือสินค้าใดๆ ก็แล้วแต่ในราคาที่ผิดปกติ หรือถูกจนสังเกตุได้ ทำให้หลวมตัวหรือหลงกลไปใช้บริการได้ง่ายๆ
เลยรู้สึกเป็นห่วงเพื่อนๆ ที่กำลังเข้ามาค้าขายเสื้อผ้า ให้เลือกช่างที่ทำงานด้วยความคุ้มค่า บางร้านหรือบางโรงงานคิดราคาแพงหน่อยหรือมากกว่าหน่อยก็ควรพิจารณาอย่างถ้วนถี่ด้วยความสมเหตุสมผล (แพงเกินก็อย่าคุย 555) อยากให้เพื่อนๆ เลือกในสิ่งที่คุ้มค่ามากกว่าจะมองราคาถูกเป็นหลัก เพราะในขณะที่สถานการณ์แรงงานขาดแคลน, วัตถุดิบขึ้นราคา ต่างๆ นาๆ สิ่งของราคาถูกแทบจะไม่มีให้เห็น อาจจะเรียกได้ว่าความถูกเป็นสิ่งผิดปกติก็ย่อมได้ เมื่อท่านเห็นราคาที่ถูกผิดปกติก็ควรจะระวังและไตร่ตรองมากกว่าปกติ
อยากให้เลือกในสิ่งที่คุ้มค่าถึงแม้ว่าบางทีอาจจะต้องจ่ายแพงกว่าก็ตาม เพราะความถูกในสถานการณ์ปัจจุบันถือเป็นสิ่งที่ต้องจับตาดูเป็นพิเศษเพราะเป็นสิ่งที่สวนทางกับความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นบริการตัดเย็บเสื้อผ้า, ตัดเย็บเสื้อยืด, ขายผ้า, วัตถุดิบผ้า หรืออะไรก็ตามแต่
อยากให้เพื่อนๆ ค้าขายด้วยความระแวดระวัง ดำเนินธุรกิจการค้าด้วยความมีสติครับแล้วปัญหาในการทำงานจะลดลง
รักและเป็นห่วงเพื่อนๆ ทุกคนครับ
ดิเรก
บ่นราคาหมู, ราคาไก่, คิดวิธีซ่อนเงินเมียไม่ได้, สามารถพูดคุยกันได้ทางไลน์ครับ 555 (Line ID = 0984761334)
ปัญหาสกรีนเสื้อยืด
ทำงานตัดเย็บเสื้อยืดมาก็หลายปี ขายส่งเสื้อยืดสีล้วนมาก็นานโข รับสกรีนเสื้อยืดก็แทบจะทุกวัน กล่าวด้วยความสัตย์จริงว่าไม่เคยปล่อยงานสกรีนเสื้อไปข้างนอกเลยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทำงานสกรีนเสื้อในบ้านตลอด (จริงๆ ก็ไม่เชิงในบ้าน เรียกว่าดาดฟ้าซะมากกว่า 555) เลยไม่ค่อยรู้คุณภาพมาตรฐานงานสกรีนนอกบ้านว่าเป็นยังไง จนกระทั่งช่างสกรีนที่บ้านลากลับไปงานฌาปนกิจ เลยลองส่งงานออกไปสกรีนข้างนอกดูว่าเป็นยังไง ครั้งแรกในชีวิตก็ ตะเอ๋! มีปัญหาเลย 555 ไม่แน่ใจว่าเป็นความซวยของผู้เขียนหรือว่าคุณภาพมาตรฐานงานสกรีนของร้านนั้นเป็นแบบนี้อยู่แล้ว ไม่แน่ใจจริงๆ หรือไม่ก็ผู้เขียนซื่อบื้อเอง 555
จริงๆ ร้านสกรีนมีเยอะมากมีให้เลือกหลากหลายแต่ก็เห็นใกล้บ้านสุดเลยลองดู โดยส่วนตัวคิดว่าร้านสกรีนดีๆ มีเยอะครับ แต่อาจจะเป็นความโชคร้ายเลยได้งานไม่มีคุณภาพ เลยได้รู้เป็นบทเรียน
ก็เลยมาบอกกล่าวเล่าสู่กันฟังเพื่อเป็นการขอโทษเจ้าของงานและฝากเตือนให้เพื่อนๆ (เผื่อลืม) ได้ฉุดคิดว่าเรื่องเล็กๆ ก็อาจจะนำมาซึ่งปัญหาใหญ่ได้ โดยเฉพาะช่วงนี้หลายร้านต้องแข่งกันด้วยราคาที่ดุเดือดเพื่อความอยู่รอดจนกระทั่งลดคุณภาพสีที่ใช้เพื่อลดต้นทุนให้ถูกลงทำให้งานออกมาไม่เป็นอย่างที่ควรจนปัญหาเกิด ดังนั้นคงจะดีกว่าที่จะพูดคุยตกลงกันให้เรียบร้อยก่อนส่งงานหรือรับงานเพื่อป้องกันข้อผิดพลาดหรือปัญหาต่างๆ
ส่วนร้านสกรีนนั้นผู้เขียนก็ไม่ได้มีเจตนาจะตำหนิอะไรเพราะรับผิดชอบแก้ไขในส่วนที่เกี่ยวข้องแต่คงจะดีกว่าถ้าไม่เกิดปัญหา ซึ่งบางครั้งการแก้ปัญหาก็ราคาแพงกว่าเริ่มใหม่ด้วยซ้ำไป ทั้งยังไม่นับความเสียหายที่มองไม่เห็นเช่น ชื่อเสียง มาตรฐานและความน่าเชื่อถือ
เคารพและเป็นห่วงเพื่อนๆ ทุกคนครับ
ดิเรก
ทำไมขนาดรอบอกขนาดเสื้อแต่ละร้านต่างกัน
นับว่าเป็นปัญหาสามัญประจำบ้านที่ลูกค้าชอบถามผู้เขียน ว่า “ทำไมขนาดรอบอกหรือไซร์เสื้อต่างกัน?” “ทำไมไม่ทำขนาดรอบอกให้เท่ากัน?” จะได้ไม่ปวดหัวหรือสับสนเวลาเปลี่ยนร้าน หรือซื้อสินค้าร้านอื่น!
จริงๆ คำถามนี้ตอบไม่ยากเลย แต่จะให้เข้าใจที่มาและเหตุผลของความต่างนั้นนับว่าปวดหัวพอสมควร 555
โดยปกติธรรมชาติแล้วเหล่าพ่อค้าแม่ขายไม่ได้อยากจะทำให้มีความต่างของขนาดรอบอกสำหรับเสื้อยืดในร้านของตัวเองแม้แต่น้อย หากมีสถาบันกำหนดทิศทางหรือขนาดเลยก็คงจะดี -__-!!! จะว่าไปก็คงทำงานกันง่ายไปอีกแบบ 555
และในความเป็นจริงนั้นพ่อค้าแม่ขายที่ประกอบอาชีพค้าขายเสื้อผ้าเป็นกลุ่มคนสุดท้ายที่จะสามารถกำหนดขนาดรอบอกเลยก็ว่าได้
ประเภทของเสื้อผ้านับว่าเป็นเหตุผลอันดับต้นๆ เหตุผลหนึ่งที่เป็นตัวกำหนดขนาดรอบอกให้ต่างกันออกไป เช่น เสื้อกีฬาก็จะตัวใหญ่ไม่นิยมใส่รัดรูป, เสื้อยืดเน้นใส่สบาย, เสื้อยืดเน้นรัดรูป, เสื้อยืดผู้หญิง ประเภทเสื้อผ้าเหล่านี้เป็นเหตุผลหลักในการกำหนดขนาดรอบอกเสื้อทั้งสิ้น
ตลาดหรือความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ก็มีความสำคัญเช่นกัน หากกลุ่มลูกค้าหลักของท่านเป็นเด็กก็ต้องมีขนาดเล็กและอัตราส่วนขยายก็ต้องขึ้นไปทีละนิดตามความต้องการลูกค้า, กลุ่มคนทำงานที่เน้นดูดีพอดีตัวจึงไม่สามารถทำส่วนขยายให้กระโดดไปหลายนิ้วได้, กลุ่มวัยรุ่นที่นิยมเสื้อแบบ oversize เน้นตัวใหญ่ใส่เท่ก็ชอบรอบอกไซร์เสื้อแบบห่าง เป็นต้น เหตุผลเหล่านี้เป็นตัวกำหนดรอบอกที่แตกต่างกัน
เหตุผลจากฝั่งการผลิตหรือเบื้องหลังก็มีน้ำหนักไม่น้อย!
ขนาดความกว้างหน้าผ้าก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่ง ซึ่งในท้องขนาดนั้นมีความกว้างหน้าผ้าแตกต่างกันออกไป เช่น ผ้าหน้ากว้าง 72 นิ้ว, ผ้าถุงอบกลมความกว้างหน้าผ้า 36 นิ้ว, ผ้าหน้ากว้างแบบ Bodysize ขนาดพอดีตัว 16, 18, 20, 22 และ 24 นิ้วสำหรับทำเสื้อยืด เป็นต้น ความกว้างหน้าผ้าที่แตกต่างกันเหล่านี้เกิดจากชนิดเส้นด้ายละเครื่องจักรทอผ้าที่ต่างกัน ความกว้างหน้าผ้าเหล่านี้มีจุดคุ้มทุนและอัตราศูนย์เสียที่ต่างกัน ส่งผลให้ผู้ผลิตในกระบวนการต่อเนื่องต้องปรับเปลี่ยนตามเพื่อให้มีความศูนย์เสียน้อยที่สุด
ช่างเย็บผ้าตัดเย็บเสื้อยืด หรือความชำนาญของช่างเย็บผ้า ผู้ซึ่งทำหน้าที่ประกอบชิ้นผ้าจากชิ้นผ้าเรียบๆ ขึ้นมาเป็นตัว เป็นรูปร่างเสื้อยืดหรือเสื้อผ้าแฟชั่นต่างๆ นั้นก็นับว่าเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่กำหนดขนาดรอบอกหรือไซร์ของเสื้อยืด ถึงมีน้ำหนักไม่มากแต่ก็มีส่วนในองค์ประกอบการตัดสินใจ อย่างที่เราท่านเห็นในปัจจุบันไม่ว่าเทคโนโลยีจะเปลี่ยนไปแค่ไหน งานอุตสาหกรรมเสื้อผ้ากว่าร้อยละ 80 ก็ยังเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นหรือใช้แรงคนเป็นหลัก (เทคโนโลยีมีมากขึ้นแต่ราคายังแพงอยู่ ทั้งเทคโนโลยีที่มีปัจจุบันคือการทำงานแยกส่วน ยังไม่เบ็ดเสร็จแบบระบบสายพาน) และหากจะลงไปในรายละเอียดแล้วเสื้อ 1 ตัว ต้องใช้ช่างเย็บทำงานหลายตำแหน่ง โดยในระบบอุตสาหกรรมเพื่อลดต้นทุนแล้วนั้น ช่างเย็บจะทำหน้าที่อย่างเดียวเพื่อความชำนาญสูงสุด เช่น ช่างโพ้งก็จะโพ้งด้านข้างอย่างเดียวเมื่อเสร็จแล้วก็ส่งชิ้นงานไปยังช่างคนถัดไป ซึ่งก็แล้วแต่ว่าเสื้อผ้าประเภทนั้นจะเป็นอะไร เสื้อยืด, เสื้อโปโล หรือเสื้อผ้าแฟชั่น
และมีบ่อยครั้งที่ช่างเย็บไม่สามารถทำงานอื่นหรือไม่ถนัดงานที่มีความต่างได้ เช่น ช่างเย็บบางบ้านไม่สามารถเย็บลาลูกโซ่บริเวณไหลในผ้าพอดีตัวแบบ bodysize ที่ทอมาไม่ให้มีตะเข็บด้านข้างเพราะต้องยกตีนผีขึ้นลงบ่อย ดึงเข้าดึงออกทำให้จักรเย็บผ้ารวนง่าย, หรือช่างเย็บที่ใช้จักรเย็บเข็มเดี่ยวไม่ถนัดจักรแบบสอยซ่อนด้าย ส่งผลสืบเนื่องให้ผู้ที่ป้อนงานจำเป็นต้องจัดหาวัสดุต่างๆ ให้สอดคล้องตามความสามารถของช่างเย็บผ้า ซึ่งบางครั้งหมายถึงการเปลี่ยนขนาดความกว้างหน้าผ้าในการทำงาน และแน่นอนว่าหากเปลี่ยนความกว้างหน้าผ้าก็จำเป็นต้องทำขนาดไซร์ให้มีจุดคุ้มทุนดีที่สุดและอัตราศูนย์เสียน้อยที่สุด และนำมาสู่ความต่างของขนาดรอบอกแต่ละร้านได้เช่นกัน
“จะขายเสื้อยืดแบบไหนก็ต้องตามใจคนซื้อ จะใช้ผ้าแบบไหนก็ว่ากันไปกับโรงงาน จะผลิตเสื้อผ้าแบบไหนก็ต้องดูฝีมือช่าง” นี่คือวิธีคิดหลักๆ ที่นำมาซึ่งความต่างของขนาดรอบอกแต่ละร้าน 555
—
—
ทักทายและให้กำลังใจ
ขออภัยที่หายหน้า พอมีเวลาก็ได้แต่แวะมาทักทายเพื่อนๆ เล็กๆ น้อยๆ
หากจะพูดถึงสถานการณ์บ้านเมือง การค้า การขาย ช่วงนี้ แทบจะไม่ต้องอธิบายกันเลยทีเดียว ชนิดที่ว่าเพื่อนฝูงมาเยี่ยมเยียนมองตาแล้วส่ายหน้าก็เป็นอันเข้าใจกันดี ไม่ต้องอธิบาย 555
มีผลกระทบกันทุกภาคธุรกิจ กลุ่มเสื้อผ้าก็เช่นกัน จะมากจะน้อยก็ว่ากันไปตามรายละเอียด
ปกติแล้วหน้าฝนนี้ก็ถือว่าเป็นช่วงขาลงของธุรกิจกลุ่มเสื้อผ้าอยู่แล้ว ทั้งขายเสื้อผ้า, ขายเสื้อยืด, งานตัดเย็บเสื้อยืดโปโลมีผลกระทบหมด แถมยังสมทบด้วยสถานการณ์บ้านเมืองที่พิลึกพิลั่นก็เลยพาลให้ทรุดกันเป็นแถวๆ บ้างก็ลดขนาดธุรกิจ หรือวิธีการประคับประคองธุรกิจด้วยวิธีต่างๆ นาๆ บางรายหนักเข้าก็ถึงกับปิดตัวกันไปเลยก็หลายราย
ผู้เขียนก็ช่วยเท่าที่ช่วยได้ ส่วนที่เหลือนั้นก็ให้ได้แต่กำลังใจครับ เพราะผู้เขียนเองกว่าจะผ่านไปได้แต่ละเดือนก็แทบแย่ -__-!!!
ซึ่งจะว่าไปแล้ว เดือนที่ผ่านมาอยู่ได้ก็ด้วยอานิสงส์ของเสื้อยืดผ้า SUPERSOFT ยี่ห้อของตัวเองที่ทำขายเงียบๆ มาแล้วพักใหญ่โดยเน้นขายกลุ่มลูกค้าที่เน้นงานคุณภาพและกลุ่มส่งออกอีกนิดหน่อย ไม่หวือหวามากมายแต่ก็ขายมาเรื่อยๆ โดยเท่าที่สังเกตยอดขายช่วงนี้ของเสื้อยืดคุณภาพที่ใช้ผ้าคอตต้อน 100% เบอร์ 20 SUPERSOFT ทั้งเสื้อยืดทรงปกติและเสื้อยืด OVER SIZE มียอดขายเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัว ทั้งที่ผ้าชนิดคอตต้อน 100% เบอร์ 20 SUPERSOFT นี้มีราคาค่อนข้างสูง (เพราะต้นทุนผ้า) เมื่อเทียบกับราคาเสื้อยืดผ้าธรรมดาทั่วไปที่ใช้สำหรับงานสกรีนหรือกิจกรรมทั่วไป ซึ่งเป็นเสื้อยืดปกติที่มีราคาถูกกว่ามากมีอัตราการขายลดลง
ก็น่าแปลกใจอยู่ไม่น้อยสำหรับผู้เขียน
แต่หากคิดวิเคราะห์ให้ดีแล้วจะเห็นได้ว่าผู้ซื้อต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมากขึ้นและมักจะเลือกสินค้าที่มีคุณภาพดีเสมอถึงแม้กำลังซื้อจะลดลง เสื้อยืดที่มีคุณภาพดีทั้งเนื้อผ้าและการตัดเย็บยังเป็นที่ต้องการของตลาด คุณภาพยังขายได้เสมอและตลาดยังเปิดกว้างสำหรับสินค้าเสื้อยืดคุณภาพ
ดังที่กล่าวมาข้างต้น ผู้เขียนก็อยากจะให้เพื่อนๆ ทั้งที่อยู่ในส่วนของการขายปลีกเสื้อยืด, ขายส่งเสื้อยืด หรือแม้แต่ในส่วนของการตัดเย็บเสื้อยืดก็ตามที ให้เห็นถึงความสำคัญของคุณภาพเสื้อยืดทั้งในส่วนวัสดุผ้าและงานตัดเย็บ เพราะในขณะที่ผู้ผลิตทั้งเจ้าใหม่และเก่าในตลาดต่างพากันลดราคาลงมาแข่งขันกันเพื่อความอยู่รอดนั้นก็พลอยทำให้สินค้าคุณภาพลดถอยต่ำลงและทะลักวางเกลือนอยู่เต็มตลาด ทำให้ผู้ซื้อยิ่งโหยหาสินค้าคุณภาพดีมากกว่าเดิม
และผู้เขียนเชื่อแน่ว่าหากเพื่อนๆ เน้นเพิ่มคุณภาพเข้าไปในผลิตภัณฑ์แล้วทำให้เสื้อยืดของเพื่อนๆ เด่นแตกต่างจากสินค้าตลาดทั่วไป ก็จะสามารถรักษาส่วนแบ่งตลาดของเพื่อนๆ ไว้ได้อย่างดีเพื่อประคับประคองสถานการณ์ให้ผ่านพ้นช่วงมรสุมนี้ไปได้
บรรทัดสุดท้ายนี้ผู้เขียนก็อยากเป็นกำลังใจให้เพื่อนๆ และอยากเห็นเพื่อนๆ ต่อสู้อุปสรรคอย่างเข้มแข็งและมีสติรอบคอบ
การสร้างแบรนด์ยี่ห้อเสื้อยืดเพื่อเพิ่มยอดขาย
หากจะพูดถึงการส่งเสริมการขายนั้นการสร้างแบรนด์หรือยี่ห้อให้เสื้อยืดของเรานั้นนับว่าเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ ซึ่งสร้างแบรนด์ยี่ห้อเสื้อยืดเพื่อให้เกิดความต่างระหว่างสินค้าของเราและสินค้าของผู้ผลิตรายอื่นๆ
แต่กระนั้นผู้ผลิตเสื้อยืดหรือผู้จัดจำหน่ายเสื้อยืดจำนวนไม่น้อยก็ยังคิดว่าการสร้างแบรนด์หรือยี่ห้อของสินค้าคือการทำป้ายสัญลักษณ์ติดเสื้อหรือโลโก้เพียงอย่างเดียว แน่นอนว่าการสร้างโลโก้ติดเสื้อนั้นสามารถสร้างความต่างเพื่อแบ่งแยกสินค้าของเรากับของผู้อื่นก็จริง แต่ประเด็นหลักของการสร้างแบรนด์จริงๆ คือการสร้างเอกลักษณ์ของสินค้าของเราให้ต่างกับของผู้ผลิตรายอื่น ทั้งในเชิงเอกลักษณ์และสัญลักษณ์
—
—
จริงๆ แล้วผู้เขียนอยากให้เพื่อนๆ มองเรื่องของการสร้างแบรนด์ไปที่การสร้างเอกลักษณ์ให้กับเสื้อยืดของเพื่อนๆ มากกว่าการสร้างโลโก้มาติดเสื้อเฉยๆ หากลองคิดกันแบบง่ายๆ แล้ว เสื้อยืดที่มีเอกลักษณ์ (เช่น ลวดลายการพิมพ์, การสกรีน, การตัดเย็บเสื้อยืดที่พิเศษ, แบบแพทเทิ่นที่ออกแบบมาเฉพาะ, เนื้อผ้าหรือการตกแต่งอื่นๆ) มักจะเป็นที่จดจำได้ดีกว่าเสื้อยืดธรรมดาทั่วไปแล้วติดยี่ห้อโลโก้
ดังนั้นจุดประสงค์ของผู้เขียนจึงอยากให้เพื่อนๆ มุ่งเน้นที่เรื่องของการสร้างเอกลักษณ์ที่เป็นลักษณะพิเศษของเสื้อยืดที่เพื่อนๆ ผลิตขึ้นมา เพราะหากเสื้อยืดของเพื่อนๆ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแล้วจะเป็นที่จดจำในหมู่ลูกค้าง่ายกว่า ซึ่งต่อให้ไม่มีโลโก้ยี่ห้อติดเสื้อ ลูกค้าก็ยังจดจำได้จากเอกลักษณ์นั้นอยู่ดี ตรงกันข้ามกับเสื้อยืดที่ไม่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีแต่ป้ายยี่ห้อติดไว้
ด้วยรักและปรารถนาดี
จากผู้เขียน
เพิ่มรายการสินค้าเสื้อยืดผ้า TK สำหรับงานรีดร้อน Heat Trasfer
โดยปกติแล้วผู้เขียนขายเสื้อยืดผ้าคอตต้อน 100% เบอร์ 20 กับเบอร์ 32 เป็นส่วนใหญ่ เรียกได้ว่าทั้งกำลังการผลิตและอัตราส่วนการตลาดเป็นคอตต้อน 100% กว่าร้อยละ 95
เหตุผลหลักก็เนื่องด้วยราคาที่ค่อนข้างเอื้ออำนวยต่อการแข่งขัน ทำราคาออกมาได้ค่อนข้างดี พูดง่ายๆ คือขายเสื้อยืดได้ถูกและสินค้าเสื้อยืดในคลังมีไม่ค่อยขาด ทำให้ขายได้อย่างต่อเนื่อง ผู้ซื้อที่ส่วนใหญ่เป็นร้านสกรีนก็ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง จึงพอจะแข่งขันกับชาวบ้านเค้าได้บ้าง
เลยถนัดเสื้อยืดผ้าคอตต้อน 100% มากกว่า
(แต่กระนั้นผ้า TK ก็ยังเป็นที่ต้องการของตลาดและได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการสกรีนด้วยความร้อน Heat Trasfer หรือ Sublimation นั้นต้องใช้เสื้อผ้าโพลีฯ หรือผ้า TK เป็นหลัก)
———-
อ่อ!
เพิ่มอีกนิด สำหรับเพื่อนๆ ที่ไม่ค่อยสันทัดเรื่องผ้า ฟังดูไม่ค่อยคุ้นหู
ผ้าเบอร์ 20 นั้นจะหนา
ผ้าเบอร์ 32 นั้นจะบางกว่า
เบอร์เหล่านี้คือเบอร์หรือขนาดของเส้นด้ายที่ถักทอเป็นผืนผ้าและนำมาตัดเย็บทำเสื้อยืด โดยเลขเบอร์ยิ่งเยอะ เส้นด้ายจะยิ่งเล็กลง และผ้าก็จะบางลง แลกเปลี่ยนด้วยความนิ่มและความละเอียดของเนื้อผ้า
ส่วนอีก 5% ของกำลังการผลิตนั้นเป็นผ้าชนิดอื่น เช่น ผ้าผสมโพลี-คอตต้อนหรือผ้า TC, ผ้าโพลี 100% หรือ TK ที่นิยมใช้ในงานรีดร้อน Heat Transfer และกำลังเป็นที่นิยมกันในขณะนี้ เนื่องด้วยทำงานง่าย ไม่ต้องสกรีนให้ยุ่งยาก แต่ใช้อุปกรณ์ไม่กี่ตัว ก็สามารถรังสรรค์ผลงานศิลปะบนผ้าออกมาได้อย่างสวยงามและมีมูลค่า (เพื่อนบางคนขายอย่างแพงอ่ะ 555 ต่างชาติชอบ -__-!!!)
———-
แรกเริ่มนั้นผู้เขียนไม่ค่อยอยากจะทำซักเท่าไหร่ ด้วยเหตุผลที่ว่าผู้เขียนไม่สามารถลงลึกไปถึงโรงงานที่ถูกใจ แต่ลูกค้าและเพื่อนๆ ของผู้เขียนใช้ผ้ากันค่อนข้างหลากหลายประเภท และเสื้อยืดผ้า TK ก็เป็นหนึ่งในนั้น เลยจำเป็นต้องทำการตัดเย็บเสื้อยืดผ้าโพลีเอสเตอร์ 100% หรือ TK เพื่อบริการกัน
บางครั้งบางทีการจัดหาเสื้อยืดผ้าต่างชนิดกันจากหลายๆ ที่เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยสนุกเอาซะเลย ทั้งเรื่องราคา เรื่องการขนส่ง เรื่องพวกนี้ผู้เขียนเข้าใจดีเลยหละ 555
ส่วนกำไรนั้นไม่ต้องพูดถึง 555
จะเรียกว่าทำประชดชีวิตก็ว่าได้ 555
เพราะว่าน้อยมาก เรียกได้ว่าทำมาให้เพื่อนๆ ใช้งานกันในราคาที่เกือบจะเท่าทุน นั่นเลยเป็นสาเหตุที่ผู้เขียนไม่สามารถจะลดราคาผ้า TK ในร้านได้เลย หรือถ้าลดราคาเสื้อยืดผ้า TK ได้ก็ต้องจำนวนเยอะจริงๆ
ขายเสื้อยืดผ้า TK นั้นต้องรับสภาพปัญหาเรื่องความเข้าใจของลูกค้าเป็นอันดับต้นๆ และต้องอธิบายลักษณะผ้ากันยกใหญ่ เพราะส่วนใหญ่ดูที่ราคา ประกอบกับนิสัยผู้เขียนที่ไม่ค่อยโกหก เลยทำให้เข้าใจยากเข้าไปอีก 555
ความสนุกของการขายเสื้อยืดผ้า TK สำหรับงานรีดร้อนนั้น คือเพื่อนๆ มักจะมีรูปแบบใหม่ๆ แปลกๆ มาให้ผู้เขียนทำอยู่เสมอ ซึ่งบางแบบก็ทำได้, เสื้อยืดผ้า TK บางแบบก็ทำไม่ได้ หรือบางแบบก็ทำได้แต่ไม่คุ้มในเชิงการค้า ซึ่งก็ว่ากันไปตามแต่ละรายลูกค้าที่เข้ามาคุยกับผู้เขียน หลังๆ ก็เลยทำเป็นต้องเพิ่มรายการสินค้า และดูท่าทางแล้วก็คงจะต้องเพิ่มรายการสินค้าประเภทเสื้อยืดผ้า TK สำหรับงานรีดร้อนอีกเรื่อยๆ 555
เลยขออนุญาตประกาศเพิ่มรายการสินค้าประเภทเสื้อยืดผ้า TK สำหรับงานรีดร้อนเข้าไปในรายการสินค้าอีก 6 รายการ โดยเป็นเสื้อยืดตัดต่อ 2 สี ได้แก่ ขาว/ดำ, ขาว/แดง, ขาว/น้ำเงิน, เทาท๊อปดายน์/ดำ, เทาท๊อปดายน์/แดง และเทาท๊อปดายน์/น้ำเงิน
เพราะเนื่องด้วยเสื้อยืดผ้า TK ราคาถูกสำหรับงานรีดร้อนนั้นกำลังเป็นที่นิยมของตลาด และสาเหตุของความนิยมนั้นก็ด้วยราคาเสื้อยืดผ้า TK ที่ค่อนข้างถูก คุณภาพเหมาะสม และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวสินค้าหรือเสื้อยืดผ้า TK นั้นก็ไม่ยุ่งยากอะไร ใช้อุปกรณ์ไม่กี่ตัว การทำงานก็ง่ายไม่ได้สลับซับซ้อนทำให้ทุ่มเทความสนใจไปที่การออกแบบลวดลายได้อย่างเต็มที่ ซึ่งต่างจากงานสกรีนทั่วไปที่ต้องใช้ทักษะในการทำบลอคสกรีน ความชำนาญในการปาดสี และการเป่าให้แห้ง ทั้งความรู้ในเรื่องงานออกแบบกราฟฟิก
เลือกทำในสิ่งที่รักมักไม่ค่อยประสบความสำเร็จ
เลือกทำในสิ่งที่รักมักไม่ค่อยประสบความสำเร็จ
อยากประสบความสำเร็จให้เลือกทำสิ่งที่ถนัดที่สุด
สถานการณ์ช่วงนี้เรียกได้ว่าต้องการกำลังใจกันเป็นพิเศษ ทั้งภาคบุคคล ภาคธุรกิจการค้า และภาครวมทั้งประเทศ ทั้งจากสภาพเศรษฐกิจ, ภัยธรรมชาติที่ซ้ำเติมและการสูญเสียร่มโพธิ์ร่มไทรอันเป็นที่รักของปวงชนชาวไทยทั้งประเทศ “องค์ในหลวงรัชกาลที่ 9”
อดีตทหารหน่วยในพระองค์ที่มีพระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” ติดอยู่อกด้านซ้าย อย่างผู้เขียนก็รู้สึกเสียใจ เศร้าใจไม่น้อยไปกว่าเพื่อนๆ
แต่ก็อย่างว่าแหละ!
ชีวิตก็ต้องดำเนิน ได้แต่เก็บสิ่งเหล่านั้นไว้ในใจ แล้วก็ต้องเดินไป ต้องวิ่งต่อไป ตามวิถีชีวิตของมนุษย์ปุถุชนทั่วไป
เลือกทำในสิ่งที่รักมักไม่ค่อยประสบความสำเร็จ!
ทำไมนะเหรอ!
ในโลกนี้มีไม่กี่อาชีพหรืองานไม่กี่อย่างครับ ที่พวกเราส่วนใหญ่รักกัน และมักจะเป็นงานที่สวยงาม เลิศหรู มีเกียรติ มีหน้าตาทางสังคม เช่น นักร้อง นักแสดง และอื่นๆ เพราะแบบนั้นพวกเราส่วนใหญ่ถึงได้รักและชอบกัน ในขณะเดียวกันการแข่งขันในอาชีพนั้นๆ ก็จะสูงตามเพราะส่วนใหญ่อยากทำ และอยากเป็น
คงไม่มีใครฝันอยากเป็นภารโรง หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายรวบรวมขยะของ กทม. หรอก (ถ้ามีไลน์บอกผู้เขียนด้วย ท่านกำลังเป็นที่สนใจของผู้เขียน 555 คิดแปลกดี มันต้องมีสาเหตุสิ!)
ถ้าท่านอยากมีความสุขในชีวิต ท่านก็เลือกทำในสิ่งที่ท่านรักและท่านก็จะมีความสุขกับสิ่งที่ทำ
แต่ถ้าท่านอยากจะประสบความสำเร็จในชีวิต ท่านจงเลือกทำในสิ่งที่ท่านทำได้ดีที่สุด ได้เปรียบที่สุด มีพื้นฐานต้นทุนมากสุดซึ่งจะทำให้ดอกผลที่แสดงออกมาค่อนข้างดี ส่วนความชอบนั้นเอาไว้ทีหลัง
ผลลัพท์ออกมาเป็นชิ้นเป็นอัน เป็นที่น่าชื่นใจ ได้เงินได้ทอง เดี๋ยวชอบขึ้นมาเอง 555
เชื่อผู้เขียนเถอะ!
คิดตามนะ!
ระหว่างทำในสิ่งที่รักแล้วชีวิตเหนื่อย, อุปสรรคเยอะ, ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน กับทำอะไรที่ไม่ได้ชอบ (รู้สึกเฉยๆ) แล้วได้เงินจับจ่ายใช้สอย ธุรกิจเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง อย่างไหนน่าชื่นใจกว่ากัน!
แล้วท้ายที่สุด เพื่อนๆ ชอบแบบไหนหละ?
หากท่านไหนประสบความสำเร็จในชีวิตจากสิ่งที่ท่านรัก ถือว่าท่านโชคดีที่สุดแล้วครับ ถือว่าทำบุญมาดี 555 (พูดไปงั้นแหละเพราะโชคไม่ค่อยช่วยอะไร ส่วนใหญ่เป็นความมานะล้วนๆ)
ผู้เขียนเองก็เป็นร้านตัดเย็บเสื้อยืดทำงานเสื้อผ้า ขายเสื้อผ้า ขายเสื้อยืดร้านเล็กๆ จิ๋วหลิ๋ว ที่ไม่ได้ประสบความสำเร็จอะไรเลย ซึ่งก็ด้วยเหตุผลหลายประการ ทั้งต้นทุนชีวิต ทั้งพื้นฐาน (และความขี้เกียจ 555) และนั่นก็เป็นสิ่งบ่งชี้ได้อย่างหนึ่งว่า ผู้เขียนไม่ได้มีทุนหนา ไม่ได้มีหน้าตักใหญ่ ไม่ได้มีพ่อแม่คอยหนุน วิเศษมาจากไหน ก็เป็นหนึ่งในพวกท่านนี่แหละ มีชีวิต! มีอุปสรรคอย่างเราท่านๆ ปกติทั่วไป
แรกเริ่มเดิมทีนั้นผู้เขียนไม่ได้อยากทำงานเสื้อผ้า เพียงแต่เคยทำงานอยู่บริษัทเสื้อผ้ากีฬาชั้นนำของประเทศ ผู้เขียนอยากทำการเกษตรและก็ได้ออกจากงานประจำเพื่อไปทำการเกษตรอย่างที่ตั้งใจ สุดท้ายโดนตะขาบกัดเกือบตายเพราะเสือกไปขยันไม่ดูวันดูเวลา 5 ทุ่มกว่ายังดายหญ้าหน้าไม่อายไปเหยียบโดนตะขาบ 555 (ดูจากรอยเขี้ยวแล้วตัวโคตรจะใหญ่)
เจ็บขาไม่พอ แถมโดนแม่ด่าไปหลายวัน อ๊ายยยยย อาย!
ไม่ได้ทำการเกษตรแล้ว ต้องหาอย่างอื่นทำ 555 ขี้เกียจโดนตะขาบกัดกับโดนแม่ด่ารอบที่ 2
เลยต้องหาสิ่งที่ใกล้มือที่สุด มีพื้นฐานมากสุด เลยเป็นงานเสื้อผ้า เสื้อยืด เพราะผู้เขียนเคยทำงานอยู่ที่บริษัทเสื้อผ้ากีฬาชั้นนำของประเทศไทยอยู่หลายปี ตำแหน่งก็ค่อนข้างสูงเพราะต้องซ่อมหลังคา เงินเดือนก็สูงเพราะต้องวิ่งขึ้นไปรับบนตึกชั้น 6
ไม่ได้ชอบ!
ไม่ได้รักหรือพิศวาสงานเสื้อผ้า เย็บเสื้อยืด ขายเสื้อยืดเป็นพิเศษ แต่ด้วยความที่มีพื้นฐานอยู่บ้าง ดีกว่าเริ่มจากศูนย์หน่อยหนึ่ง ผลลัพธ์ที่ออกมาก็เป็นที่น่าพอใจ ร้านเติบโตตามขั้นตอน ยอดขายเสื้อยืดเพิ่มขึ้นดีวันดีคืน โดยเฉพาะขายส่งเสื้อยืดราคาถูก ที่ผู้เขียนทำราคาออกมาได้ค่อนข้างดีเพราะสันทัดเรื่องต้นทุนการผลิตและขั้นตอนการผลิตเสื้อยืดจากงานประจำที่เคยทำ
พอทุกอย่างเริ่มเป็นรูปร่าง เห็นแนวทางที่ชัดเจน
เออ แฮ่ะ! ดีเหมือนกันเนาะ 555
จากที่รู้สึกเฉยๆ ก็เริ่มชอบ (ตอนรับตังค์ 555)
ไม่ต้องเชื่อผู้เขียนหรอกเพราะนั้นไม่ใช่สิ่งที่ผู้เขียนต้องการ
ผู้เขียนต้องการแค้ให้เพื่อนๆ เก็บไปคิด ไปดัดแปลง ไปพลิกแพลง ตะแคงพุ่งหลาว ให้ออกมาเหมาะสมกับชีวิตเพื่อนๆ
สาเหตุที่ผู้เขียนต้องเล่าเรื่องนี้ให้เพื่อนๆ ฟังเพราะวันนี้ ผู้เขียนมีแขกมาที่ร้าน เป็นน้องผู้หญิงน่ารักน่าชัง วิ่งดุกดิกๆ ไปมาชั้น 1 ยันชั้นดาดฟ้าโต๊ะสกรีน -__-!!! (ซนโคตร!) มาดูงาน มาดูแบบเสื้อยืด มาดูเนื้อผ้าที่ร้านผู้เขียน
แล้ว!
อยากจะเปิดโรงงานตัดเย็บเสื้อยืดที่บ้านบ้าง ส่วนคุณแม่ก็เห็นดีเห็นงามด้วยและจะลงทุนให้น้อง ทั้งๆ ที่ดูงานที่ร้านผู้เขียนไม่ถึงครึ่งชั่วโมง -__-!!!
นี่คือความน่ากังวลของคนมีเงินและการตามใจลูกแบบไม่ไตร่ตรอง!
ทั้งๆ ที่บ้านทำธุรกิจอย่างอื่นได้ค่อนข้างดี!
ท้ายที่สุดแล้วผู้เขียนอยากจะบอกด้วยความเป็นห่วง (ตัวเอง) ว่า
“มาแย่งงานผู้เขียนทำมายยยยย อย่ามาแย่ง ไปทำอย่างอื่นซิ 555”
พูดไปงั้นแหละ!
จริงๆ ก็เป็นห่วงเรื่องการศูนย์เปล่ากับเม็ดเงินที่ต้องลงทุนโดยที่ไม่ได้คิดให้ดีเสียก่อน
บางอย่างดูง่าย แต่ก็ไม่ได้ง่ายแบบที่เราเห็น
อาจารย์ชาวอังกฤษของผู้เขียนพูดติดปากอยู่เสมอ “เห็นหญ้าบ้านข้างๆ เขียว พอเราเหยียบอาจจะไม่เขียวอย่างที่คิด” (แสดงให้เห็นว่า….อาจารย์….แม่งชอบปีนกำแพงไปขโมยแอปเปิ้ลข้างบ้าน! นิสัย -__-!!!)
ทุกอาชีพมักจะมีอุปสรรคอยุ่เสมอครับ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องทำในสิ่งที่เราถนัดก่อนเสมอครับ เมื่อสำเร็จแล้วจะกลับไปทำในสิ่งที่ท่านรักก็แล้วแต่ความสบายใจของท่านหละ!
รักและเป็นห่วงเพื่อนๆ ทุกคน
ผู้เขียน
กำลังใจกับสถานการณ์งานตัดเย็บเสื้อยืด
วันนี้ไม่มีอะไรมาก!
เอาปัญหาที่เพื่อนๆ ในกลุ่มงานตัดเย็บเสื้อยืด กลุ่มงานขายเสื้อยืดมาเล่าสู่กันฟัง เพราะช่วยแก้งานด้วยแรงกายไปแล้วก็อยากเป็นกำลังใจให้กับเพื่อนๆ เพิ่มอีกทางหนึ่ง ให้ครบองค์ประกอบ
ก่อนอื่น
ขอขอบคุณเพื่อนๆ ที่อุตส่าห์แวะมาคุยกับผู้เขียนในวันอาทิตย์ และก็ขอบคุณสำหรับขนม 555
(ถึงแม้ว่าจะเป็นการเอาขนมมาล่อ แล้วหลอกให้ช่วยงานก็เถอะ 555)
ปกติผู้เขียนเปิดอาทิตย์ มีแต่ช่วงหลังๆมานี้ที่หยุด เพราะ “เหนื่อย ” -__-!!!
รวมๆ กันแล้วตกผลึกออกมา ก็ดูเหมือนว่าจะมี 2 ปัญหาใหญ่
เรื่องแรกก็น่าจะเป็นเรื่องคุณภาพงานตัดเย็บกับความเข้าใจของลูกค้า
จะว่าไปแล้วธุรกิจเสื้อผ้าเป็นธุรกิจที่ใช้คนทำเป็นหลัก เครื่องจักรเป็นรอง โดยส่วนตัวแล้วผู้เขียนจัดให้อยู่ในหมู่กึ่งหัตกรรมกึ่งอุตสาหกรรมประเภทหนึ่ง โดยเฉพาะงานตัดเย็บเสื้อยืด เสื้อโปโลนั้นใช้แรงงานมนุษย์เป็นหลัก จึงเป็นเรื่องปกติที่มีความผิดพลาด มีความหลากหลาย คือว่าดูกันจริงๆ แล้วจะไม่เหมือนกันซักตัว ถึงต้องมีอัตรายืดหยุ่น ที่เราเรียกว่าอัตราบวก-ลบ จะให้สมบูรณ์ 100% นี่ คงยาก ถึงทำได้ค่าใช้จ่ายก็คงไหลไปไกล หากแต่ควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ที่รับได้ก็ถือว่าผ่าน ดังนั้นการแก้งานจึงเป็นเรื่องปกติ แต่ใช่ว่าลูกค้าทุกคนจะเข้าใจเรื่องนี้
หากงานส่วนไหนที่ผู้เขียนพอจะช่วยแก้ได้ก็ยินดีครับ
(ที่พูดนี่เหมือนจะเก่งนะ ผู้เขียนเองผิดก็บ่อย 555)
*** รูปไม่ได้เกี่ยวข้องกับอะไรกับหัวข้องานขายเสื้อยืดนะครับ เอาไว้ขั้นหน้าแก้เบื่อเฉยๆ 555 ***
เรื่องที่ 2 ก็น่าจะเป็นเรื่องสภาพเศรษฐกิจ
ที่ช่วงสถานการณ์ปัจจุบัน เศรษฐกิจค่อนข้างซบเซาอย่างที่เราๆ ท่านๆ ทราบกันดี กระทบเป็นวงกว้าง ไม่เว้นแม้แต่กลุ่มงานเสื้อผ้า งานตัดเย็บเสื้อยืด เสื้อโปโล หรืองานขายเสื้อยืด งานขายเสื้อผ้าหรือสิ่งใกล้เคียง ซึ่งโดยปกติช่วงหน้าฝนก็เป็นช่วงขาลงของงานเสื้อผ้าอยู่แล้วยิ่งเจอปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายลึก หนุนทับเข้ามาซ้ำอีกชั้นหนึ่ง ก็เลยเป็นเรื่องปกติที่จะเห็นเพื่อนๆ ในแวดวงงานตัดเย็บเสื้อยืด งานขายเสื้อยืด ขายเสื้อโปโล ต้องลดจำนวนคน นำเครื่องจักรออกมาขาย หรือบางรายถึงกับปิดตัวเลยทีเดียว นับว่าเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจเพราะขนาดคนเตรียมตัวมาอย่างดี “ยังเหนื่อย!” แทบตายในการพยุงสถานการณ์ช่วงนี้
หากมีอะไรที่ผู้เขียนพอจะช่วยได้ก็ยินดีครับสำหรับการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
ส่วนเรื่องแผนงานการขายนั้นก็มีรายละเอียดตามที่คุยกันไว้ในวงสนทนา ส่วนที่เหลือก็คงจะต้องตามติดอย่างใกล้ชิดเพื่อดูผลตอบรับกันอีกทีครับ
“แถวนี้แมร่ง…เถื่อน! ไม่มึนจริง อยู่ไม่ได้ 555”
“ต้องมึนๆ ซื่อบื่อๆ หน่อยๆ มันจะชินของมันไปเอง 555”
จะว่าไปแล้วก็อยากจะเน้นย้ำกับเพื่อนๆ อีกรอบครับว่า….
พยายามทำตัวให้ชินกับปัญหา เพราะปัญหามีอยู่ทุกที่
พยายามทำตัวให้ชินกับการแข่งขัน เพราะปัจจุบันไม่มีสินค้าตัวไหนที่ไม่ต้องแข่งขัน
ผู้เขียนก็ขอเป็นกำลังใจให้กับเพื่อนๆ ที่กำลังเจอกับปัญหาด้านงานตัดเย็บ งานขาย หรืออะไรก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะเป็นการตัดเย็บเสื้อยืด งานขายเสื้อยืดเรื่อยไปจนถึงงานในกลุ่มเกี่ยวข้อง
ผู้เขียนเป็นกำลังใจให้ครับ
เสื้อยืดผ้าคอตต้อน 100% เบอร์ 32 COMB
โดยปกติแล้วที่ร้านผู้เขียนขายผ้าคอตต้อนเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นคอตต้อน 100% เบอร์ 20 ที่มีลักษณะหนาหน่อย, ผ้าคอตต้อน 100% เบอร์ 32 ที่บางกว่าหน่อย เนื้อผ้านิ่มกว่า ละเอียดกว่า (เรื่องเบอร์เส้นด้ายนั้น เบอร์ยิ่งเยอะก็ยิ่งบาง) หรือเสื้อยืดผ้าคอตต้อน 100% เบอร์ 32 COMB ก็ขายอยู่หน้าร้านเป็นปกติ โดยลูกค้ากลุ่มที่นิยมเสื้อยืดผ้าคอตต้อน 100% เบอร์ 32 COMB เป็นลูกค้าประจำร้านของผู้เขียนที่มียี่ห้อหรือแบบเฉพาะเป็นของลูกค้าเองแต่ละราย เรียกได้ว่าตัดเย็บกันเป็นกรณีพิเศษเฉพาะกลุ่มว่างั้นเถอะ!
พอสั่งเยอะๆ เข้าก็เลยจำเป็นต้องเย็บเข้าคลังสำรองไว้ เลยถือโอกาสนี้ประกาศเพิ่มผลิตภัณฑ์ของทางร้านไปในคราวเดียวเลย (พูดง่ายๆ ประกาศขายเสื้อยืดจากผ้าคอตต้อน 100% เบอร์ 32 COMB ว่างั้นเถอะ 555)
เสื้อยืดผ้าคอตต้อน 100% เบอร์ 32 COMB นั้นจะว่าไปแล้วก็เป็นลักษณะเนื้อผ้าที่ดีกว่าคอตต้อน 100% เบอร์ 32 ทั่วๆไปอยู่ขั้นหนึ่ง ทั้งเรื่องความนิ่ม, ความละเอียดของเนื้อผ้า และความเสถียรของน้ำหนักผ้าต่อตารางฟุต (โดยโรงงานที่ผู้เขียนค้าขายด้วยนั้นมีความหนาแน่นของเนื้อผ้าอยู่ที่ 170 กรัมต่อตารางฟุต ซึ่งถือว่าดีใช้ได้เลยทีเดียว) เลยเป็นที่นิยมสำหรับกลุ่มผู้ผลิตเสื้อผ้าที่เน้นคุณภาพในการสวมใส่
โดยความต่างของคุณภาพในตัวเนื้อผ้าคอตต้อน 100% เบอร์ 32 แบบ COMB นั้นก็เริ่มมาตั้งแต่กระบวนคัดแยกฝ้ายวัตถุดิบดำ-เสียที่ว่ากันว่ามีอัตราศูนย์เสียถึง 15-20% กันเลยทีเดียวเพราะคัดแยกแต่ส่วนที่คุณภาพดีเหมาะสม, การผลิตเส้นด้าย, การปั่นเส้นด้าย, และการสางเส้นด้ายหลายรอบ (Combing process) และขั้นตอนการผลิตต่างๆ นาๆ ที่สลับซับซ้อนเพื่อให้ได้เส้นใยคุณภาพดีสำหรับการถักทอเป็นผ้าผืนคอตต้อน (ฝ้าย) ก่อนเข้าสู่กระบวนการตัดเย็บเสื้อยืดคอกลม, คอวีต่างๆ ออกมาเพื่อการสวมใส่
** แหม่! มีรง มีรูปประกอบด้วยนะ ทำอย่างกะจบอุตสาหกรรมสิ่งทอมางั้นแหละ 555 -__-!! **
เสื้อยืดผ้าคอตต้อน 100% COMB นั้นจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่นิยมคุณภาพ, ความสบายในการสวมใส่ โดยราคานั้นก็ไม่ได้แพงอย่างที่คิด ไม่ได้ราคาแพงหฤโหดอย่างที่เห็นจากกระบวนการผลิตแต่อย่างใด เป็นราคาตลาดทั่วๆไปที่จับต้องได้ แต่เมื่อเทียบกับคุณภาพแล้วก็ถือว่าคุ้มราคาทีเดียว
ลักษณะการหดตัวของผ้าและเสื้อยืด
ช่วงนี้ลูกค้าจากย่านรามคำแหง, ลาดพร้าว, มีนบุรี, นวมินทร์ แวะมาซื้อเสื้อยืดที่ร้านผู้เขียนเยอะเป็นพิเศษ น่าจะเป็นเพราะใกล้ช่วงเทศกาล ลูกค้ามาซื้อเสื้อเตรียมตัวไปเที่ยวกัน อิ อิ อิ (น่าอิจฉาเนาะ ส่วนผู้เขียนอยู่เฝ้า กทม กลัวหาย -__-!!!)
ลูกค้าที่มาซื้อเสื้อยืดที่ร้านมักจะถามคำถามยอดนิยมคล้ายๆ กันก่อนซื้อเช่นว่า “ผ้าหดไหม?”
ผู้เขียนก็มักจะตอบด้วยความซื่อบื้อและความสัตย์จริงว่า “หดครับ!”
ได้ยินแบบนี้ บ้างก็ซื้อ บ้างก็เปลี่ยนใจ 555
ก็มันจริงนี่นา ตะเอง!
——–
——–
ว่ากันตามประสบกาม เอ้ย! ประสบการณ์การของเขียนแล้วผ้าทุกอย่างหดตัวหมดครับ
ผ้าอย่างเดียวที่ไม่หดคือ “ผ้าป่า (สามัคคี)”
คงไม่ต้องสาธยายถึงลักษณะของผ้าป่าที่มาเป็นซองๆ วางอยู่บนโต๊ะที่ทำงานของเพื่อนๆ นะครับ 555 เป็นซองแบนๆ เนื้อละเอียด มีประทับตราวัดเพื่อความสวยงามและขลัง พร้อมทั้งอัดแน่นด้วยเนื้อบุญอยู่ด้านในซอง 555 ผ้าแบบนี้ไม่มีหดครับ! มีแต่เพิ่ม (ไม่เชื่อลองใส่ผ้าป่าซักซอง เดี๋ยววันถัดมาจะขยายตัวเพิ่มเป็น 2 ซองวางอยู่บนโต๊ะทำงานเพื่อนๆ 555 ลองมาแล้ว!)
นอกนั้นผ้ามีการหดตัวครับ
ผ้าเส้นใยใหญ่กว่าก็มีอัตราการหดตัวน้อยกว่าผ้าเส้นใยเล็กกว่า
ผ้าเส้นใยธรรมชาติคอตต้อนก็หดตัวน้อยกว่าเส้นใยสังเคราะห์
ผ้าเส้นใยสังเคราะห์ปกติทั่วไปก็หดน้อยกว่าผ้าเส้นใยสังเคราะห์สารยืดหรือพวก spandex ต่างๆ เป็นต้น
เช่นเสื้อยืดผ้าคอตต้อน100% เบอร์ 20 ซึ่งทอด้วยเส้นใยที่ใหญ่กว่ามีอัตราการหดตัวน้อยกว่าเสื้อยืดผ้าคอตต้อน100% เบอร์ 32 ที่ใช้เส้นด้ายเบอร์เล็กกว่า (เบอร์เส้นด้ายยิ่งมาก เส้นด้ายยิ่งเล็ก)
เสื้อยืดผ้า TK ที่ทำจากเส้นใยสังเคราะห์โพลี 100% ก็มีอัตราการหดตัวมากกว่าเสื้อที่ตัดเย็บจากผ้าฝ้ายธรรมชาติคอตต้อน 100% เป็นต้น
ครั้นจะบอกว่าผ้าไม่หดนั่นก็ดูจะไม่ซื่อสัตย์ไปหน่อยนะตัวเธอว์
ซึ่งถ้าเรามาดูหลักความจริงตามเหตุผลแล้ว การหดตัวของผ้าส่วนใหญ่ก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และเป็นสิ่งที่รับได้
สาเหตุการหดนั้นก็อาจจะมาจากหลายๆ ปัจจัยหลายๆ เหตุผล เช่น
ลักษณะเส้นใย – เป็นเส้นใยธรรมชาติหรือเส้นใยสังเคราะห์? (เส้นใยสังเคราะห์ก็คือพลาสติกดีๆนี่แหละแต่ผ่านกรรมวิธีการผลิตอันสลับซับซ้อนผสมสารพิเศษต่างๆ รีด กรอง หลายรอบจนออกมาเป็นเส้นใยสำหรับกิจกรรมสิ่งทอ)
ขบวนการผลิต – การทอกี่รอบ? กี่กรัมต่อตารางฟุต? ต่างๆ นาๆ บางครั้งมองภายนอกเหมือนกันทั้งลักษณะผ้าและความยาวแต่เครื่องจักรทอผ้าสมัยนี้พัฒนาไปมากจนมีรูปแบบการทำงานที่เลือกได้ว่าใช้ความหนาแน่นมากน้อยแค่ไหน (รายละเอียดเชิงลึกว่ากันอีกทีนะจ๊ะ ตัวเธอว์) หรือการอบหลังจากย้อมสี ต่างๆ เป็นต้น
อุณหภูมิสภาพแวดล้อม – ร้อน เย็น? (ขนาดไม้เนื้อแข็งยังหดตัวนับประสาอะไรกับผ้า)
การตัดเย็บ – มีการเผื่ออัตราการหดมากน้อยแค่ไหน? ฝีเข็มเป็นยังไง?
ปัจจัยเหล่านี้มีผลต่ออัตราการหดของผ้าครับ
การหดตัวของผ้านั้นถือว่าเป็นเรื่องปกติครับ มีหดบ้างซึ่งก็ว่ากันตามลักษณะของผ้าแต่ละชนิด โดยทั่วๆไปแล้วถือว่ารับได้ ไม่ได้เลยร้ายอะไรเลย เป็นเรื่องที่ทราบกันดีของฝั่งผู้ผลิตเสื้อผ้าและโรงงานทอผ้า ผ้าหดมากน้อยก็ว่ากันไปตามเหตุผล เสื้อที่เราใส่ๆอยู่ก็หด แต่อาจจะเล็กน้อยจนเราไม่รู้สึกตัวก็เป็นได้
แต่….. (ทำคิ้วขมวด หน้าตาจริงจังกับชีวิต!)
ถ้าหากเพื่อนๆ ซื้อผ้ามาจากโรงงานมาตัดเย็บเสื้อผ้าแล้วหดหนักถึงขั้นตัดชุดแซคแล้วผ้าหดเหลือเท่าเสื้อครอปครึ่งตัวหละก็น่ะ!
บอกพิกัดที่ตั้งและเลขบัญชีมาเลย!
พร้อมโอน!
จะซื้อมาตัดเสื้อกล้ามให้น้องเมียกับเพื่อนน้องเมียใส่เส้นน้ำสงกรานต์หน้าบ้านปีนี้ 555
หามานานผ้าสเปคเทพขนาดนั้น 555 -__-!!!
ส่วนวิธีแก้ไข ป้องกันหรือลดอาการหดของผ้านั้นก็มีหลายวิธีครับ ว่ากันไปตามลักษณะการทำงาน ซึ่งในส่วนของผู้เขียนที่เป็นร้านตัดเย็บเสื้อผ้า ตัดเย็บเสื้อยืดนั้นก็มีวิธีทำงานหรือวิธีแก้ปัญหาในแบบของฝั่งผลิตเอง ไม่ได้สลับซับซ้อนอะไร
เช่น
ถ้าผ้าบางหรือยืดก็จะตัดเผื่อหดมากหน่อย
ถ้ารู้ตัวว่าทำงานกับผ้าบาง เช่น ฮานาโกะ ชีฟอง (บ้างไม่ฟองบ้าง) ที่บางมากๆ ยืดมากๆ ก็อาจจะปูผ้าแล้วทิ้งค้างไว้ซัก 1 คืนเพื่อให้ผ้าอยู่ตัว คงสภาพ ประมาณว่า หดเต็มที่พรุ่งนี้เจอกัน อะไรทำนองนั้น!
หรือถ้าทำงานกับผ้าที่บางๆ พริ้วๆ ยืดๆ (เย็บยากๆ นั่นแหละ!) ก็อาจจะต้องทำแพทเทิ่นพิเศษที่เผื่อการหดของผ้าและการเย็บโพ้งกินผ้ามากขึ้นกว่าปกติ เช่นจาก ½ นิ้วก็เป็น 6/8 นิ้วอะไรทำนองนั้นซึ่งก็ว่ากันไปตามลักษณะของผ้า
สรุปเลยละกัน (ง่วงนอนละ -__-!!!)
โดยรวมสำหรับเสื้อผ้าทั่วๆ ไป เสื้อยืด เสื้อโปโลแล้วก็มีการหดตัวบ้างแต่ก็ไม่ถึงขั้นเป็นปัญหาหลัก
วิธีเลือกผ้าพิมพ์ลายสำหรับตัดเย็บเสื้อยืดเพื่อขายส่ง
พักนี้มีเพื่อนๆ หลายท่านซื้อผ้าแบบพิมพ์ลายมาตัดเย็บเสื้อยืดที่ร้านเพื่อทำการขายส่งเพราะส่วนต่างกำไรค่อนข้างดีและความนิยมของตลาดที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
————-
————-
*** ขโมยภาพเสื้อลูกค้ามา ไม่ใช่เสื้อของที่ร้านนะ อุ อุ อุ ไม่ต้องถามซื้อนะ! ***
ผ้าพิมพ์ลายเป็นยังไงเหรอ?
เป็นผ้าผืนแบบที่พิมพ์ลายทั้งผืน! ไม่ใช่สกรีนนะ!
ผ้าพิมพ์ลายค่อนข้างจะได้รับความนิยมทั้งจากฝั่งขายส่งและขายปลีกเพราะเนื่องจากราคาผ้าไม่แพง ผสมกับความน่ารักของลวดลายบนตัวผ้าที่เป็นจุดขาย ไม่ต้องสกรีนมากมายก็พร้อมขายได้ทันทีทำให้การนำผ้าพิมพ์ลายมาทำเสื้อยืดได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว ฝั่งผลิตตัดเย็บเสื้อยืดแบบผู้เขียนก็ชอบ 555 เพราะไม่ต้องสกรีนอะไรเพิ่มเติม ตัดเย็บเสื้อยืดเสร็จเป็นตัวก็พร้อมขายได้เลย อิอิอิ!
การเลือกผ้าพิมพ์ลายมาทำการตัดเย็บเสื้อยืดเพื่อขายปลีกขายส่งนั้นจะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายุ่งยากก็มีบ้างพอสมควร ประเด็นสำคัญของการเลือกผ้าพิมพ์ลายมาตัดเย็บเสื้อยืดนั้นอยู่ที่การเลือกลายผ้าและเลือกเนื้อผ้าให้สอดคล้องกับตลาดที่เราต้องการจะเสนอขาย
เช่น ขายเสื้อผ้าเด็กก็ต้องลายพิมพ์แบบน่ารักๆ
ขายกลุ่มวันรุ่นก็ต้องลวดลายแบบตัวกาตูนทันสมัย ที่เป็นที่นิยมในช่วงเวลานั้นๆ
ที่สำคัญที่สุดคือดูคุณภาพของเนื้อผ้าไม่ให้แย่จนเกินไป เพราะถ้าจะพูดกันตามตรงคือผ้าพิมพ์ลายกว่าครึ่งคือผ้าที่ผ้าสีล้วนปกติแล้วไม่ได้คุณภาพเลยหาวิธีระบายสู่ตลาดด้วยการพิมพ์ลายทับลงไปให้ดูสวยงามใช้งานได้
ก็ไม่ใช่ว่าทั้งหมดจะแย่เสมอไป
เพราะบางร้านหรือบางโรงงานใช้ผ้าคุณภาพดีปกติแล้วพิมพ์ลายเพื่อความสวยงามเพิ่มจุดขาย สังเกตง่ายๆว่าผ้าจะดูสีสด ใหม่ และราคาค่อนข้างสมเหตุผล (คือมีราคาแพงกว่าผ้าพิมพ์ลายแบบโล๊ะมา) หากจะเปิดตลาดค้าขายด้วยเสื้อยืดผ้าพิมพ์ลายเสื้อยืดราคาขายส่งแล้วก็ควรจะเสียเวลาลงพื้นที่ไปดูสภาพและคุณภาพผ้าแต่ละร้าน และควรให้ความสนใจเป็นพิเศษกับร้านที่ยอมให้เราตรวจผ้าเพื่อดูตำหนิหรือตรวจสอบคุณภาพผ้าก่อนซื้อ เพราะบางร้านที่ใช้ผ้าโล๊ะมาพิมพ์ลาย ตำหนิจะมีมากก็มักจะไม่ค่อยชอบให้คนซื้อตรวจดูตำหนิ
คนขายหน้างอ ทำหน้าเซ็งๆ ก็อย่าไปสนใจ เปิดดูผ้า ตรวจผ้าคร่าวๆ ก่อนซื้อเป็นดีที่สุดครับ เพราะสุดท้ายแล้วคนที่ต้องรับผิดชอบ คนที่ต้องตอบคำถามลูกค้า หรืออาจจะถึงขั้นคืนเงินให้ลูกค้าเวลาของไม่ดีก็คือเราเอง!
ทุกอย่างเป็นค่าใช้จ่าย เป็นต้นทุน ซึ่งเราควรใส่ใจเป็นพิเศษกับขั้นตอนการเลือกซื้อผ้าครับ
อยากให้เพื่อนๆ ใส่ใจรายละเอียดของขั้นตอนการเลือกซื้อผ้าครับ
คุณภาพของเสื้อยืด
ลูกค้าของผู้เขียนท่านหนึ่งถามมาว่า “เสื้อยืดคุณภาพดี ดูจากตรงไหน? มันดูเหมือนๆ กันหมด!”
เออ! จริงของเค้าแฮะ 555 -___-!!! ขนาดผู้เขียนยังแยกลำบากเลย -___-!!!
ถ้าจะให้ตอบคร่าวๆ ตามประสาช่างเย็บผ้า ก็พอจะตอบมั่วๆ ได้ดังนี้ครับ
การดูคุณภาพของเสื้อยืดนั้นหลักๆ ก็ดูกันได้อยู่ 2 ข้อใหญ่ๆ คือ
1. แน่นอนหละครับว่าเราดูกันทีเนื้อผ้า ซึ่งก็ว่ากันไปตามความชอบ ซึ่งเนื้อผ้าสำหรับสำเสื้อยืดเองก็แบ่งออกไปได้หลากหลายมากมายครับ เช่น ผ้าฝ้ายคอตต้อน, ผ้าผสม TC, ผ้าโพลีเอสเตอร์ TK, ผ้ายืด Spandex…..เยอะอ่ะ! ซึ่งก็แล้วแต่ความชอบและความเหมาะสมสำหรับเสื้อผ้าประเภทนั้นๆ ยิ่งเส้นด้ายทอละเอียดเท่าไหร่ก็หมายถึงคุณภาพของเนื้อผ้ามากเท่านั้น ผ้าที่ดีคือผ้าที่ใช้กับงานเย็บประเภทนั้นๆได้อย่างเหมาะสมและถูกประเภท
2. การตัดเย็บซึ่งมีความสำคัญไม่ด้อยไปกว่ากัน เนื้อผ้าดีแต่การตัดเย็บแย่ ก็พาลจะลดคุณค่าและราคาของเสื้อผ้าตัวนั้นๆ ลงไปมากทีเดียว เสื้อยืดที่ดีมีคุณภาพในการตัดเย็บเสื้อยืดนั้นดูได้ไม่ยาก เพราะมีจุดสังเกตไม่กี่จุดครับ (555 ง่ายว่าเสื้อโปโลเยอะ!)
———-
———–
2.1 ลาลูกโซ่บริเวณด้านหลังคอเสื้อเป็นจุดหนึ่งที่ผู้เขียนอยากให้เพื่อนๆ สังเกตเพราะการเย็บลาลูกโซ่ทับเส้นโพ้งบริเวณคอและไหล่ด้านในถือเป็นการเพิ่มทั้งความสวยงาม, ความเรียบร้อย (ปกปิดความขี้เหล่ตอนโพ้งคอเสื้อ 555) และเพิ่มความทนทานของอายุเสื้อตัวนั้นๆ ได้ไปพร้อมๆ กัน เสื้อยืดหลายๆ ยี่ห้อลดต้นทุนลงด้วยการไม่เย็บลาลูกโซ่ เพราะประหยัดทั้งวัตถุดิบและเวลาในการทำงาน
2.2 คิ้วรอบวงคอหรือการเย็บย้ำบริเวณรอบคอเสื้อเพื่อเพิ่มความทนทาน, ความเรียบร้อยของเสื้อตัวนั้นๆ การคิ้วนั้นไม่จำกัดว่าการคิ้วด้วยการเย็บเข็มเดี่ยวแบบทั่วๆ ไปหรือการลารอบคอก็แล้วแต่ชอบ ก็ถือเป็นการเพิ่มความทนทานและความเรียบร้อยให้กับเสื้อยืดตัวนั้นๆ ได้ดีทีเดียว
2.3 รอยต่อระหว่างวงแขนเสื้อและข้างลำตัว ซึ่งเป็นบริเวณที่ไม่ค่อยมีใครมอง แต่แน่นอนหละว่าช่างเย็บที่ละเอียดเอาใจใส่มักจะใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เช่นบริเวณรอยต่อใต้วงแขนด้วยเช่นกัน
2.4 รอยเย็บชายเสื้อด้านในหรือที่ภาษาช่างเย็บผ้าเรียกว่าการเย็บลาแขน, ลาชาย (อย่างถามนะว่าทำไมต้องเรียกแบบนั้นเพราะผู้เขียนก็ไม่รู้ เค้าว่าไงก็ว่าตามเค้า อย่าดื้อดิ! 555) การลาชายและลาแขนเสื้อที่ดีนั้นควรมีเศษผ้าเลยขอบการลามาเพียงเล็กน้อยจึงจะดูเรียบร้อย
2.5 การเย็บฝีเข็ม ยิ่งละเอียดก็จะยิ่งแสดงถึงคุณภาพการตัดเย็บของเสื้อยืดตัวนั้นๆ แต่การเข็มฝีเข็มอย่างพอดีๆ คงจะดีที่สุดเพราะฝีเข็มถี่ไปมักจะเปลืองด้าย 555 และทำให้เกิดการย่นได้
เลือกซื้อผ้าจากร้านค้าที่ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
นานๆ โผล่มาที 555
ขออภัยจริงๆครับ งานเยอะก็ว่ากันไปตามเนื้อผ้า
จริงๆ ก็ไม่มีอะไรจะมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังก็คงจะได้แค่บอกเล่าเก้าสิบกับปัญหาการทำงานในแต่ละวันที่ผู้เขียนต้องเผชิญและคอยแก้ปัญหากันไปตามแต่ละเรื่อง
การเล่าสู่กันฟังก็ดีอย่าง ช่วยลดปัญหาความผิดพลาดได้ระดับหนึ่ง
วันนี้ก็คงจะเป็นเรื่องของการเลือกซื้อผ้าจากร้านค้าที่ยุติธรรมไม่เอาเปรียบผู้ซื้ออย่างเราๆ ท่านๆ (จริงๆ เค้าก็ไม่ได้อยากเอาเปรียบพวกเรานักหรอก เพียงแต่พวกเรารู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งแถวบ้านเรียก “พลาด!” 555)
อย่างที่เราๆ ท่านๆเห็นนั้นว่าร้านขายผ้าสำหรับนำมาตัดเย็บเสื้อยืด เสื้อโปโล หรือเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มอะไรก็แล้วแต่นั้น มีมากมายหลายร้อยร้าน แต่พอดูดีๆแล้ว เลือกเฟ้นแล้วก็ปรากฏว่ามีไม่กี่ร้านหรอกที่คุยกันถูกชะตา ค้าขายไปกันได้
มีเพื่อนๆ มาบ่น มาเล่าให้ฟังกับปัญหาเรื่องร้านผ้า จะไม่นำมาเป็นกรณีศึกษาก็ไม่ได้ จะว่าไปแล้วผู้เขียนเองก็เป็นมือสมัครเล่นในการเลือกร้านผ้าแต่เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงปัญหาเรื่องผ้าเบื้องต้นนั้นผู้เขียนก็อยากแนะนำว่า
1.พยายามหลีกเลี่ยงร้านขายผ้าที่รับซื้อผ้าโล๊ะสต๊อกหรือรับซื้อขายผ้าสต๊อกจากโรงงานอะไรทำนองนั้น เพราะร้านขายผ้าส่วนใหญ่ที่รับซื้อผ้าโล๊ะ, ผ้าสต๊อกนั้นก็จะนำผ้ามาวนเวียนขายซื้อสลับสับเปลี่ยนกันไป (ไม่ใช่ทั้งหมดนะ! อย่าเหมารวม ผู้เขียนพาลจะโดนด่าเอา) ขึ้นชื่อว่าผ้าเหมา, ผ้าโละสต๊อกหรืออะไรทำนองนั้นก็มักจะมีจุดเด่นเรื่องราคาที่ถูกกว่าปกติของตลาด แต่ก็มีปัญหาติดมาด้วยเสมอๆ เช่นว่าอาจจะไม่ผ่านการตรวจคุณภาพเลยเทขาย, มีตำหนิ, ทำรอบเดียวไม่มีการทำซ้ำ หรืออะไรก็แล้วแต่ซึ่งปัญหาจากผ้าเหล่านี้ก็อาจจะตกเป็นของผู้ซื้อได้ในภายหลัง
2.ไม่ควรซื้อผ้าที่ราคาถูกเกินไป อย่าเอาแต่ถูกอย่างเดียว หากเพื่อนๆ ผู้อ่าน (หรือไม่อ่านก็แล้วแต่ 555!) ต้องการซื้อผ้าเพื่อนำมาตัดเย็บเสื้อยืดหรือโปโลแล้วหละก็จำเป็นที่จะต้องศึกษาราคาจากตลาดให้ดีเสียก่อนที่จะซื้อผ้าเพราะหากว่าถูกจากราคาขายปกติทั่วๆไปแล้วหละก็มักจะมีปัญหาอะไรซักอย่าง ไม่งั้นก็คงไม่ถูกกว่าราคาขายทั่วไป พึงระลึกเสมอว่า “ของถูกไม่ค่อยดี ของฟรีไม่เคยเห็น” เลวร้ายซักหน่อยก็เจอของไม่ดีราคาแพง ซึ่งน่าเจ็บใจเป็นอย่างมากสำหรับผู้ซื้อที่อยากค้าๆขายๆ อย่างเราท่านๆ (รวมถึงผู้เขียนด้วย แฮ่ะๆ)
3.ควรจะซื้อผ้าจากร้านค้าที่รับซื้อคืนเวลาผ้ามีปัญหา (ปัญหาที่สมเหตุสมผลนะ ไม่ใช่ปัญหาอีลุ่ยฉุยแฉก -__-!!!) ขึ้นชื่อว่าผ้านั้นการตรวจสอบมักจะลำบากเสมอ (แม้กระทั่งกับโรงงานใหญ่ๆ ที่ใช้เครื่องตรวจผ้าฉายไฟส่องทีละพับๆ ก็ตามทีแล้วนับประสาอะไรกับร้านตัดเย็บเสื้อยืดเล็กๆ อย่างเราๆท่านๆ) เพราะห่อพับกันอย่างมิดชิด พับกันอย่างเรียบร้อยดูดีมีสกุลพร้อมที่จะจำหน่ายให้พวกเรา เลยทำให้ตรวจสอบหรือตรวจดูทำได้ลำบาก ได้แต่ดูผิวเผินและต้องฝากความหวังไว้กับความน่าเชื่อถือของร้าน และกว่าจะรู้ว่าผ้ามีปัญหานั้นก็ถึงโต๊ะตัดผ้าแล้ว หรือบางทีตัดไปแล้วเกินครึ่งถึงจะรู้ว่าผ้ามีปัญหา เช่นรอยด่างจากการย้อม, ผ้าเป็นรูเยอะเกินกว่าเหตุ, รอบขีดข่วนที่มีรอยยาวตามแนวผ้า
** ปล. รูปไม่ได้เกี่ยวอะไรกับบทความเลย แค่เห็นว่าสีสวยดี 5 5 5 **
หากเพื่อนๆ อยากทำการค้า, อยากขายเสื้อผ้า, ขายเสื้อยืด, อยากตัดเย็บเสื้อผ้าขายสร้างยี่ห้อ (แบรนด์) ของตัวเองแล้วหละก็ ยอมเสียเวลาซักนิด ใจเย็นซักหน่อยเพื่อผลระยะยาวและลดปัญหา ลงพื้นที่ไปดูร้านค้าเพื่อเลือกร้านขายผ้าที่บริการเราอย่างยุติธรรมกับเรา ไม่ฉวยโอกาสจากความไร้เดียงสาของผู้ซื้ออย่างเราๆ ท่านๆ เอาเปรียบเรื่องราคาหรือคุณภาพ
อย่าขี้เกียจเอาแต่ง่ายเข้าว่า -__-!!! เจอปัญหากันมาเยอะละ!
เคารพและเป็นห่วงเพื่อนๆ ทุกคน
โอ
วิธีหาตลาดเพิ่มยอดขายเสื้อยืดตอนที่ 1 : เพิ่มมูลค่าด้วยความคิดสร้างสรรค์
พักนี้ไม่ค่อยมีบทความอะไรมาสื่อสารกับเพื่อนๆ มากนัก สาเหตุก็คงเป็นเพราะเรื่องงานตัดเย็บเสื้อยืดและงานสกรีนเสื้อยืดที่เยอะขึ้นๆ ตามกาลเวลา
ประโยคคำถามที่ผู้เขียนได้รับจากเพื่อนๆ ช่วงนี้ก็คงจะไม่พ้น
“ทำยังไงถึงจะสามารถหาตลาดเพิ่มยอดขายเสื้อยืดได้?” หรือ “ทำยังไงให้ขายเสื้อยืดให้ได้เยอะๆ”
-___-!!! เครียดเลยนะเจอคำถามนี้ (เพราะถ้ารู้ผู้เขียนคงรวยไปแล้ว 555)
ชีวิตไม่สิ้นก็ดิ้นกันไป
(เหมือนเดิมอ่ะ! รูปประกอบไม่ได้เกี่ยวอะไรด้วยเล้ยยย แค่ไม่อยากให้มีแต่ตัวหนังสือ -__-!!!)
อุตส่าถามมา จะไม่ตอบก็ผิดวิสัยผู้เขียนทั้งจะเสียน้ำใจคนถาม
ผู้เขียนก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดแบบอาจารย์หลายๆ ท่านที่เห็นทางทีวี ชีวิตนี้ก็ยังลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ ตามประสา จะโชคดีหน่อยก็ตรงที่ได้พูดคุยค้าขายกับผู้คนมากหน้าหลายตา (ไม่ใช่สัตว์ประหลาดนะ -__-!!!) ก็เลยพอจะมีเรื่องมาเล่าสู่เพื่อนๆ แลกเปลี่ยนความรู้กันได้บ้าง
เอาหละโม้มานาน เข้าเรื่องกันดีกว่า
ลูกค้าของผู้เขียนท่านหนึ่งที่มาใช้บริการตัดเย็บเสื้อยืด อาศัยที่ตัวเองชอบวาดรูป ระยุกต์มาวาดรูปในคอมฯ แล้ววาดรูปเหมือนให้กับลูกค้าที่เป็นนักศึกษาหรือคู่รักที่กำลังหวานแววแบบเสื้อคู่อะไรทำนองนั้น วาดรูปเหมือนเป็นตัวการ์ตูนน่ารักๆ ชนิดที่ว่ามีตัวเดียวในโลกว่างั้นเถอะ สร้างเอกลักษณ์ให้ตัวสินค้าที่เป็นเสื้อยืด แล้วก็ใช้วิธีรีดร้อน (Heat Transfer) ลงบนเสื้อ หรือใช้เครื่องสกรีนลงบนผ้าโดยตรง สร้างส่วนต่างของราคา (Margin) ได้เป็นอย่างดี จากสกรีนเสื้อปกติที่ได้กำไร 40-50 บาทต่อตัวกลายเป็นกำไร 200-250 บาทต่อตัวด้วยความคิดสร้างสรรค์ที่คิดเอกลักษณ์ให้ตัวสินค้า
(เหมือนเดิมอ่ะ! รูปประกอบไม่ได้เกี่ยวอะไรด้วยเล้ยยย แค่ไม่อยากให้มีแต่ตัวหนังสือ -__-!!!)
แถมปัจจุบันยังมีรูปแบบการขายที่พัฒนาไปอีกขั้นด้วยการขายเสื้อยืดรูปการ์ตูนเหมือนควบคู่ไปกับการขายสินค้าที่ระลึกงานวันรับปริญญาเช่นตุ๊กตาหรือพัดที่มีรูปการ์ตูนเหมือนของลูกค้ารายนั้นๆ
นับว่าขายดีเลยทีเดียวสำหรับการเพิ่มยอดขายเสื้อยืดด้วยความคิดสร้างสรรค์หาเอกลักษณ์ให้ตัวสินค้าวิธีนี้
(เหมือนเดิมอ่ะ! รูปประกอบไม่ได้เกี่ยวอะไรด้วยเล้ยยย แค่ไม่อยากให้มีแต่ตัวหนังสือ -__-!!!)
หากเพื่อนๆ ท่านไหนจะลองทำหรือประยุกต์วิธีให้สอดคล้องกับความสามารถของตนเองก็ไม่ว่ากันครับ เพราะตลาดเสื้อยืดยังสามารถต่อยอดกันไปได้อีกเยอะครับ ปัจจุบันการตลาดการขายเสื้อยืดมีการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้นจึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องคิดกลยุทธการขายที่แปลกใหม่เพื่อรักษาตลาดและฐานลูกค้าไว้
ฤดูขายและช่วงเวลางานขายเสื้อผ้า
กล่าวสวัสดีเพื่อนๆ หลังจากที่หายหัวไปนาน (อิ อิ!)
และแล้วฤดูงานตัดเย็บเสื้อผ้าก่อนสงกรานต์อันมหาโหดก็จบลงด้วยความเรียบร้อย (รึเปล่า! ไม่แน่ใจ -__-!!!)
สำหรับผู้เขียนแล้วรอดมาได้เพราะโรงงานผ้าหยุดงานไปเรียบร้อยแล้ว ก็เลยมีข้ออ้างในการปฏิเสธลูกค้า อิอิอิ
เล่นเอานอนวันละ 3-4 ชั่วโมงนานติดกันร่วม 2 อาทิตย์เห็นจะได้
(รูปประกอบไม่ได้เกี่ยวอะไรกับเนื้อหาเล้ยยย จริงๆ -__-!!! กลัวอ่านแล้วจะง่วงกันเลยหาภาพมาคั้น แค่นั้นแหละ)
ธุรกิจขายเสื้อผ้าหรือตัดเย็บเสื้อผ้านั้นก็คงเหมือนๆ กับอาชีพหรือสินค้าประเภทอื่นๆ ที่มีจังหวะขึ้นลงๆ ขายดีบ้าง ขายไม่ดีบ้างก็ว่ากันไปตามฤดูขายของสินค้าประเภทนั้นๆ งานขายเสื้อผ้าเองก็มีวงจรการขายเป็นฤดูไม่ต่างกัน
สำหรับพ่อค้าแม่ขายเสื้อผ้าอย่างเราๆ ท่านๆ นั้นการเตรียมการสำหรับฤดูขายเสื้อผ้าเสื้อยืดนั้นก็คงจะเป็นเรื่องที่ปกติไปเสียแล้ว แต่สำหรับเพื่อนๆ ที่กำลังเริ่มขายหรือกำลังคิดจะขายเสื้อผ้านั้นการรู้จักวงจรฤดูการขายของงานเสื้อผ้าก็จะทำให้เพื่อนๆ วางแผนการขายได้ดีขึ้น มีสินค้าขายอย่างต่อเนื่องไม่เสียโอกาสการขาย
สำหรับช่วงฤดูขายเสื้อยืดหรืองานเสื้อผ้าส่วนใหญ่ (เช่น เสื้อยืด เสื้อคอโปโล เสื้อกล้าม หรือเสื้อแฟชั่นอื่นๆ) แล้วจะมี 3 ช่วงเวลาด้วยกันที่ขายดิบขายดีแบบชนิดเทน้ำเทท่า และก็จะส่งผลถึงงานตัดเย็บด้วยเล่นกัน นั่นก็คือช่วงเมษายนก่อนสงกรานต์ ช่วงเทศกาลวันแม่ และช่วงเดือนธันวาคมวันพ่อแห่งชาติ
ส่วนช่วงฤดูที่ต้องดูแลเป็นพิเศษก็คือฤดูฝนที่การขายเสื้อผ้าจะน้อยลงอย่างเห็นได้ชัดตามพฤติกรรมของผู้บริโภค และก็ส่งผลถึงส่วนตัดเย็บที่น้อยลงตามไปด้วย
หากเพื่อนๆ อยากมีสินค้าไว้ขายช่วงฤดูสงกรานต์อย่างต่อเนื่อง ก็ควรวางแผนการผลิตตัดเย็บเสื้อผ้าไว้ขายล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือนเพราะร้านรับตัดเย็บเสื้อยืดส่วนใหญ่จะงานแน่นมากขึ้นตามลำดับก่อนวันสงกรานต์ หากคาดหวังหาร้านตัดเย็บเสื้อยืดในช่วงเวลาสั้นๆ ก่อนใกล้สงกรานต์หรือใกล้ช่วงเทศกาลนั้นเป็นสิ่งที่ไม่แนะนำเป็นอย่างยิ่ง
ปล* จริงๆ แล้วก็ไม่ตายตัวเสมอไปสำหรับบางท่านก็อาจจะขายเสื้อผ้าได้ดีตลอดปี แต่เชื่อเถอะว่าส่วนใหญ่ก็ใกล้เคียงกับสถิติของผู้เขียน ^_^
ด้วยความเคารพและเป็นห่วงเพื่อนๆ ทุกคน
โอ
เลือกซื้อผ้ายืดแถววัดสน (สุขสวัสดิ์ซอย 35)
หากพูดกันถึงเรื่องปัจจัยความสำคัญหลักของธุรกิจเสื้อผ้าแล้วก็คงหนีไม่พ้นเรื่องเนื้อผ้า ที่เป็นปัจจัยหลักที่บ่งบอกถึงคุณภาพและราคา ซึ่งผ้าเป็นต้นทุนหลักที่มีความสำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ หากเพื่อนๆ ที่ทำธุรกิจหรือค้าขายเสื้อผ้าอยู่แล้ว หรืออยากจะทำธุรกิจเสื้อผ้า แล้วต้องการลดต้นทุนเพื่อประโยชน์ด้านการแข่งขันที่ดีขึ้นนั้นการเลือกซื้อผ้าที่เป็นวัตถุดิบหลักด้วยคุณภาพและราคาสมเหตุสมผลถือว่าเป็นข้อสำคัญครับ
แหล่งขายผ้าใน กทม เรานั้นมีอยู่หลายแหล่ง หลายแห่งสถานที่ซึ่งแต่ละที่นั้นขายผ้าต่างชนิดกันออกไป เช่นหากเพื่อนๆ อยากจะได้ผ้าสำหรับทำเสื้อเชิตก็ควรไปพาหุรัต (เขียนถูกไหมเนี่ยะ -__-!!!)
และถ้าหากเพื่อนๆ อยากซื้อผ้ายืดสำหรับตัดเย็บเสื้อยืดหรือเสื้อผ้าลำลองนั้น หนึ่งในสถานที่ที่ผู้เขียนอยากจะแนะนำคือ วัดสนหรือสุขสวัสดิ์ซอย 35 (จริงๆ ก็มีหลายที่แหละ เช่น แถวๆ สะแกงามหรือสุขสวัสดิ์ซอยอื่นๆ) แต่แถวๆ วัดสนนั้นดูจะไปง่ายที่สุดและมีรูปแบบการขายผ้าที่หลากหลาย เช่นบางร้านก็ขายปลีกเป็นกิโลสำหรับทำตัวอย่าง บางร้านก็มีวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานผ้าขายปลีกแยกชิ้น ต่างๆ นาๆ ว่ากันไปกันแต่ละร้าน อันนี้ต้องเดินดูกันเองถึงจะได้ร้านที่ถูกใจ โดยหลักแล้วก็จะขายผ้าคอตต้อนเบอร์ 20, คอตต้อนเบอร์ 32, TC, TK, ผ้ากีฬาตระกูลโพลีต่างๆ, ผ้ายืดคาเนโกะ ต่างๆนาๆ
เพื่อนๆ หลายท่านก็คงจะคุนเคยกับร้านผ้าแถวๆ วัดสนกันดีอยู่แล้วก็คงไม่ต้องอธิบายอะไรมาก หากแต่เพื่อนๆ ที่กำลังจะไปเลือกซื้อผ้าเพื่อมาทำงานนั้นผู้เขียนก็อยากจะให้เพื่อนๆ เลือกร้านดีๆ ครับจะได้ไม่มีปัญหาทีหลัง
โดยร้านขายผ้าในซอยวัดสน (หรือสุขสวัสดิ์ 35) นั้นมีหลากหลายลักษณะการค้าขายและบริการ อาจจะดูเหมือนกันแต่ก็จะมีความต่างอยู่พอสมควร โดยกว่า 1 ใน 5 ข้างร้านค้าในวัดสนขายผ้าสต๊อกที่โละมาจากโรงงาน, 3 ใน 5 เป็นร้านค้าที่รับผ้ามาจากโรงงานอีกถอดหนึ่ง และจะมีแค่ 1 ใน 5 ของจำนวนร้านขายผ้าในซอยวัดสนเป็นร้านของโรงงานผลิตผ้าโดยตรง ซึ่งข้อแตกต่างเหล่านี้จะทำให้เกิดความแตกต่างด้านราคา, คุณภาพ และความต่อเนื่องของสินค้า
เช่น ถ้าซื้อผ้าจากร้านขายผ้าสต๊อกก็จะได้ราคาถูกลงมาหน่อย แต่อาจจะมีปัญหาเรื่องสีในครั้งต่อไปเพราะมันจะไม่เหมือนกันอีกแล้ว ประมาณว่าหมดแล้วหมดเลย หากเพื่อนๆ ซื้อเพื่อไปใช้งานครั้งเดียวแล้วจบก็คงไม่ต้องเลือกถามร้านให้วุ่นวาย แต่หากเพื่อนๆ คิดจะทำงานต่อเนื่องก็ควรที่จะใส่ใจร้านผ้าที่เราไปซื้อตั้งแต่แรกเพื่อลดปัญหาความยุ่งยากในอนาคต
หากเพื่อนๆ หาร้านที่เป็นโรงงานผลิตโดยตรงนั้นดูจะยากซักหน่อย (เพราะทุกร้านก็บอกว่าตัวเองเป็นโรงงานผู้ผลิตซะหมด -__-!!! ก็คนเค้าอยากขายนี่เนาะ! ก็พูดหว่านล้อมไปเรื่อยแหละ) แต่ก็ใช่ว่าจะหายากซะทีเดียว โดยส่วนใหญ่แล้วร้านผ้าที่เป็นผู้ผลิตโดยตรงนั้นจะมีเอกลักษณ์หรือเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง เช่น Supersoft, dry… (อะไรซักอย่างนี่แหละ จำไม่ได้ ขออภัย) เพื่อสร้างจุดขายให้กับตัวเองและราคาจะดูสมเหตุสมผล ไม่แพงเวอร์และไม่ถูกสัส! ซึ่งกว่าจะรู้ก็ต้องเดินดูและเปรียบเทียบราคาดูครับ
**ปล** หากเพื่อนๆ ท่านไหนที่พึ่งไปครั้งแรกหรือกกำลังจะไป หากไปถึงแล้วให้ตรงเข้าวัดไปจอดรถเลยครับ เสีย 20 บาท จ่ายไปเถอะอย่าเสียดาย เพราะที่จอดรถหายากมว๊วกกกกก! และไม่ต้องกลัวหิ้วไกลเพราะจะมีคนลากมาส่งให้ที่รถ
ด้วยความเคารพและเป็นห่วงเพื่อนๆ ทุกคน
โอ
ข้อดีและข้อเสียของผ้าถุงกลม Body Size และผ้าพับหน้าเดียว
โดยมากผ้ายืดที่ซื้อขายกันในตลาดสำหรับนำมาตัดเย็บทำเสื้อยืดนั้นแบ่งได้ 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือผ้า
- ผ้าพับหน้าเดียว (ซึ่งจะแบ่งย่อยออกเป็นหน้ากว้าง 36, 37, 62 หรือ 74 นิ้วนั้นก็แล้วแต่ลักษณะการใช้งานและความคุ้มทุนของโรงงานที่จะทำออกมา) และ
- คือผ้าถุงกลมแบบพอดีตัวหรือเรียกกันทั่วๆ ไป Body Size ซึ่งหน้ากว้างของผ้าลักษณะนี้จะมีความกว้างตายตัวตามความกว้างรอบอกของเสื้อแต่ละไซร์
โดยผ้าพับสำหรับนำมาทำเสื้อยืดทั้ง 2 ลักษณะนี้ก็มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป
เช่น
ข้อดีผ้าพับหน้าเดียว คือ สามารถประยุกต์ใช้ได้ง่าย โดยที่ 1 พับนั้นสามารถประยุกต์ตัดไซร์ได้ตามต้องการ หรืองานเสื้อผ้าแฟชั่นที่มีการตัดต่อลวดลายหลายชิ้น และผ้าพับหน้าเดียวนี้เป็นผ้าที่หาได้ง่ายตามท้องตลาดและโรงงานส่วนใหญ่ก็ทำออกมาสู่ตลาด ทำให้ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อมาใช้งานตัดเย็บเสื้อยืด
ข้อเสียผ้าพับหน้าเดียว ก็คงจะเป็นเรื่องของเศษผ้าที่เสียไประหว่างตัด
ส่วนผ้าแบบถุงกลม Body Size นั้นก็มีข้อดีคือประหยัดเนื้อผ้า ผ้า 1 พับนั้นก็สามารถที่จะตัดออกมาเป็นจำนวนตัวได้มากกว่าผ้าแบบพับหน้าเดียวเพราะไม่ต้องเสียเศษผ้าจากการตัด ทั้งยังประหยัดด้ายเพราะด้านข้างลำตัวไม่มีตะเข็บ ทั้งลำตัวถูกทอออกมาเป็นกระสอบจากโรงงาน
แต่ข้อเสียคือผ้าแบบถุงกลม Body Size นั้นถูกทำออกมาตายตัวตามลักษณะการใช้งานจึงทำให้การประยุกต์ใช้เพื่อทำเสื้อผ้าแฟชั่นที่มีการตัดต่อหลากหลายเพื่อความสวยงามนั้น ทำได้ด้วยความลำบาก ทั้งรูปแบบการเย็บนั้นก็ต้องอาศัยความชำนาญที่เพิ่มขึ้นเพราะการเข้าวงแขนจะยากขึ้น จึงต้องอาศัยแรงงานที่มีประสบการณ์
โดยรวมแล้วผ้าแบบถุงกลม Body Size นั้นเหมาะสำหรับงานเสื้อยืดจำนวนมาก หรือห้างร้านที่ขายส่งเสื้อยืดเป็นจำนวนเยอะๆ และเป็นงานลักษณะโหลที่ตายตัว ส่วนคำถามจากเพื่อนๆ ที่ว่าผ้าแบบไหนดีกว่ากันนั้นก็แล้วแต่วัตถุประสงค์และการใช้งานของเพื่อนๆ ครับ