ลักษณะการหดตัวของผ้าและเสื้อยืด
ช่วงนี้ลูกค้าจากย่านรามคำแหง, ลาดพร้าว, มีนบุรี, นวมินทร์ แวะมาซื้อเสื้อยืดที่ร้านผู้เขียนเยอะเป็นพิเศษ น่าจะเป็นเพราะใกล้ช่วงเทศกาล ลูกค้ามาซื้อเสื้อเตรียมตัวไปเที่ยวกัน อิ อิ อิ (น่าอิจฉาเนาะ ส่วนผู้เขียนอยู่เฝ้า กทม กลัวหาย -__-!!!)
ลูกค้าที่มาซื้อเสื้อยืดที่ร้านมักจะถามคำถามยอดนิยมคล้ายๆ กันก่อนซื้อเช่นว่า “ผ้าหดไหม?”
ผู้เขียนก็มักจะตอบด้วยความซื่อบื้อและความสัตย์จริงว่า “หดครับ!”
ได้ยินแบบนี้ บ้างก็ซื้อ บ้างก็เปลี่ยนใจ 555
ก็มันจริงนี่นา ตะเอง!
——–
——–
ว่ากันตามประสบกาม เอ้ย! ประสบการณ์การของเขียนแล้วผ้าทุกอย่างหดตัวหมดครับ
ผ้าอย่างเดียวที่ไม่หดคือ “ผ้าป่า (สามัคคี)”
คงไม่ต้องสาธยายถึงลักษณะของผ้าป่าที่มาเป็นซองๆ วางอยู่บนโต๊ะที่ทำงานของเพื่อนๆ นะครับ 555 เป็นซองแบนๆ เนื้อละเอียด มีประทับตราวัดเพื่อความสวยงามและขลัง พร้อมทั้งอัดแน่นด้วยเนื้อบุญอยู่ด้านในซอง 555 ผ้าแบบนี้ไม่มีหดครับ! มีแต่เพิ่ม (ไม่เชื่อลองใส่ผ้าป่าซักซอง เดี๋ยววันถัดมาจะขยายตัวเพิ่มเป็น 2 ซองวางอยู่บนโต๊ะทำงานเพื่อนๆ 555 ลองมาแล้ว!)
นอกนั้นผ้ามีการหดตัวครับ
ผ้าเส้นใยใหญ่กว่าก็มีอัตราการหดตัวน้อยกว่าผ้าเส้นใยเล็กกว่า
ผ้าเส้นใยธรรมชาติคอตต้อนก็หดตัวน้อยกว่าเส้นใยสังเคราะห์
ผ้าเส้นใยสังเคราะห์ปกติทั่วไปก็หดน้อยกว่าผ้าเส้นใยสังเคราะห์สารยืดหรือพวก spandex ต่างๆ เป็นต้น
เช่นเสื้อยืดผ้าคอตต้อน100% เบอร์ 20 ซึ่งทอด้วยเส้นใยที่ใหญ่กว่ามีอัตราการหดตัวน้อยกว่าเสื้อยืดผ้าคอตต้อน100% เบอร์ 32 ที่ใช้เส้นด้ายเบอร์เล็กกว่า (เบอร์เส้นด้ายยิ่งมาก เส้นด้ายยิ่งเล็ก)
เสื้อยืดผ้า TK ที่ทำจากเส้นใยสังเคราะห์โพลี 100% ก็มีอัตราการหดตัวมากกว่าเสื้อที่ตัดเย็บจากผ้าฝ้ายธรรมชาติคอตต้อน 100% เป็นต้น
ครั้นจะบอกว่าผ้าไม่หดนั่นก็ดูจะไม่ซื่อสัตย์ไปหน่อยนะตัวเธอว์
ซึ่งถ้าเรามาดูหลักความจริงตามเหตุผลแล้ว การหดตัวของผ้าส่วนใหญ่ก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และเป็นสิ่งที่รับได้
สาเหตุการหดนั้นก็อาจจะมาจากหลายๆ ปัจจัยหลายๆ เหตุผล เช่น
ลักษณะเส้นใย – เป็นเส้นใยธรรมชาติหรือเส้นใยสังเคราะห์? (เส้นใยสังเคราะห์ก็คือพลาสติกดีๆนี่แหละแต่ผ่านกรรมวิธีการผลิตอันสลับซับซ้อนผสมสารพิเศษต่างๆ รีด กรอง หลายรอบจนออกมาเป็นเส้นใยสำหรับกิจกรรมสิ่งทอ)
ขบวนการผลิต – การทอกี่รอบ? กี่กรัมต่อตารางฟุต? ต่างๆ นาๆ บางครั้งมองภายนอกเหมือนกันทั้งลักษณะผ้าและความยาวแต่เครื่องจักรทอผ้าสมัยนี้พัฒนาไปมากจนมีรูปแบบการทำงานที่เลือกได้ว่าใช้ความหนาแน่นมากน้อยแค่ไหน (รายละเอียดเชิงลึกว่ากันอีกทีนะจ๊ะ ตัวเธอว์) หรือการอบหลังจากย้อมสี ต่างๆ เป็นต้น
อุณหภูมิสภาพแวดล้อม – ร้อน เย็น? (ขนาดไม้เนื้อแข็งยังหดตัวนับประสาอะไรกับผ้า)
การตัดเย็บ – มีการเผื่ออัตราการหดมากน้อยแค่ไหน? ฝีเข็มเป็นยังไง?
ปัจจัยเหล่านี้มีผลต่ออัตราการหดของผ้าครับ
การหดตัวของผ้านั้นถือว่าเป็นเรื่องปกติครับ มีหดบ้างซึ่งก็ว่ากันตามลักษณะของผ้าแต่ละชนิด โดยทั่วๆไปแล้วถือว่ารับได้ ไม่ได้เลยร้ายอะไรเลย เป็นเรื่องที่ทราบกันดีของฝั่งผู้ผลิตเสื้อผ้าและโรงงานทอผ้า ผ้าหดมากน้อยก็ว่ากันไปตามเหตุผล เสื้อที่เราใส่ๆอยู่ก็หด แต่อาจจะเล็กน้อยจนเราไม่รู้สึกตัวก็เป็นได้
แต่….. (ทำคิ้วขมวด หน้าตาจริงจังกับชีวิต!)
ถ้าหากเพื่อนๆ ซื้อผ้ามาจากโรงงานมาตัดเย็บเสื้อผ้าแล้วหดหนักถึงขั้นตัดชุดแซคแล้วผ้าหดเหลือเท่าเสื้อครอปครึ่งตัวหละก็น่ะ!
บอกพิกัดที่ตั้งและเลขบัญชีมาเลย!
พร้อมโอน!
จะซื้อมาตัดเสื้อกล้ามให้น้องเมียกับเพื่อนน้องเมียใส่เส้นน้ำสงกรานต์หน้าบ้านปีนี้ 555
หามานานผ้าสเปคเทพขนาดนั้น 555 -__-!!!
ส่วนวิธีแก้ไข ป้องกันหรือลดอาการหดของผ้านั้นก็มีหลายวิธีครับ ว่ากันไปตามลักษณะการทำงาน ซึ่งในส่วนของผู้เขียนที่เป็นร้านตัดเย็บเสื้อผ้า ตัดเย็บเสื้อยืดนั้นก็มีวิธีทำงานหรือวิธีแก้ปัญหาในแบบของฝั่งผลิตเอง ไม่ได้สลับซับซ้อนอะไร
เช่น
ถ้าผ้าบางหรือยืดก็จะตัดเผื่อหดมากหน่อย
ถ้ารู้ตัวว่าทำงานกับผ้าบาง เช่น ฮานาโกะ ชีฟอง (บ้างไม่ฟองบ้าง) ที่บางมากๆ ยืดมากๆ ก็อาจจะปูผ้าแล้วทิ้งค้างไว้ซัก 1 คืนเพื่อให้ผ้าอยู่ตัว คงสภาพ ประมาณว่า หดเต็มที่พรุ่งนี้เจอกัน อะไรทำนองนั้น!
หรือถ้าทำงานกับผ้าที่บางๆ พริ้วๆ ยืดๆ (เย็บยากๆ นั่นแหละ!) ก็อาจจะต้องทำแพทเทิ่นพิเศษที่เผื่อการหดของผ้าและการเย็บโพ้งกินผ้ามากขึ้นกว่าปกติ เช่นจาก ½ นิ้วก็เป็น 6/8 นิ้วอะไรทำนองนั้นซึ่งก็ว่ากันไปตามลักษณะของผ้า
สรุปเลยละกัน (ง่วงนอนละ -__-!!!)
โดยรวมสำหรับเสื้อผ้าทั่วๆ ไป เสื้อยืด เสื้อโปโลแล้วก็มีการหดตัวบ้างแต่ก็ไม่ถึงขั้นเป็นปัญหาหลัก